เสาเข็ม ตัวไอ I-12 ไอ12
Prestressed Concrete Piles I-12
สอบถามราคาพิเศษที่ฝ่ายขาย

แข็งแรง ทนทาน มีมาตรฐานในการผลต เพื่อใช้ทดแทนเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงในงานก่อสร้างฐานรากขนาดเหล็กทั่วไป



เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จรูป Prestressed Concrete Pile เป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่หล่อจากโรงงาน ผลิตโดยอาศัยเทคนิคดึงในเส้นลวด Tendon ยังคงค้างอยู่ เมื่อคอนกรีตแข็งตัวจนได้กำลังอัดตามเกณฑ์แล้ว จึงตัดลวดรบแรงดึงออก โดยปกติการถ่ายกำลังจากลวดรับแรงดึงสู่คอนกรีต คอนกรีตต้องมีกำลังอัดไม่ต่ำกว่า 250 กก./ตร.ซม. และเมื่อคอนกรีตมีอายุ 28 วัน คุณสมบัติของคอนกรีตเมื่อทดสอบด้วยรูปทรงลูกบาศก์ขนาด 15x15x15ซม. ต้องมีกำลังอัดประลัยไม่ต่ำกว่า 420 กก./ตร.ซม. หรือเมื่อทดสอบด้วยรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว สูง 12 นิ้ว ต้องมีกำลังอัดประลัย ไม่ต่ำกว่า 350 กก./ตร.ซม. ปูนซีเมนต์ที่ใช้ อาจเป็นชนิดแข็งตัวเร็ว Rapid Hardening Strength cement, Type III หรือ ชนิดปอร์ตแลนด์ธรรมดา Ordinary Portland cement Type 1 สมสารเร่งการก่อตัว โดยมีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ไม่ต่ำกว่า 400 กก./ลบ.ม. ของคอนกรีต บ่มด้วยน้ำหรือไอน้ำ กำลังดึงอัดประลัยสูงสุดของลวดไม่ต่ำกว่า 17,500 กก./ตร.ซม. ส่วนเหล็กปลอกลูกตั้ง ควรใช้เหล็กกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9มม.

ในกรณีที่การขนส่งเสาเข็มเข้าไปยังหน่วยงาน ต้องผ่านถนน หรือซอยคดเคี้ยว เสาเข็มที่มีความยาว จะมีปัญหามากในการขนส่ง ดังนั้นจึงต้องหล่อเป็นท่อนๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่ง แล้วจึงเชื่อมต่อในระหว่างการตอก การเชื่อมต่อมี 2 วิธี คือ การใช้ปลอกเหล็กสวมใส่ และการเชื่อมประสานด้วยลวดเชื่อมไฟฟ้า ข้อเสียของการใช้ปลอกเหล็กสวมใส่ คือ ปลอกเหล็กอาจผุ เนื่องจากการกัดกร่อนของสารเคมีในดิน และหากดินมีการเคลื่อนตัว Slide เช่น ถูกแรงดันจากการตอกเสาเข็มข้างเคียง เสาเข็มมีโอกาสหลุดจากกันได้ง่าย วิธีการเชื่อมประสานด้วยไฟฟ้า ทำให้รอยต่อ มีความแข็งแรง ทนทาน และโอกาสที่เสาเข็มหลุดจากกันยากกว่าแบบใช้ปลอกเหล็กสวมใส่มาก

การต่อเสาเข็มโดยการเชื่อมประสานด้วยไฟฟ้า ทางโรงงานผู้ผลิตเสาเข็ม ต้องฝังแผ่นเหล็กไว้ที่หัวเสาเข็ม และปลายเสาเข็มส่วนที่ต้องการต่อกัน วิธีการต่อนั้น ต้องทำการตอกท่อนแรกให้จมลงไปเกือบเสมอระดับดินก่อน โดยสูงจากระดับดินประมาณ 30-60 ซม. แล้วยกท่อนที่มาต่อตั้งบนหัวเสาเข็มต้นล่าง จัดให้แนวตรงกัน และได้ดิ่ง แผ่นเหล็กหัวเสาเข็มต้นล่าง แนบสนิทกับปลายเสาเข็มต้นบน ประสานขอบแผ่นเหล็กทั้งสองต้นให้ติดกันโดยรอบ ด้วยการเชื่อมไฟฟ้า

 
 
ตัวอย่างเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่จำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบัน
ลำดับ
ขนาด
ชนิด
น้ำหนัก
(kg/m.)
พื้นที่หน้าตัด
(cm2)
เส้นรอบรูป
(cm.)
รับน้ำหนักปลอดภัย
(Ton)
1.
เสาเข็ม
เข็มต่อขนาด .13x.13x2x7ม. =14ม.
ชนิด 2 ท่อนต่อ 
41
169
5.2
5
2.
เสาเข็ม
เข็มต่อขนาด .15x.15x2x9ม. =18ม.
ชนิด 2 ท่อนต่อ และ 3 ท่อนต่อ
54
225
60
13
3.
เสาเข็ม
เข็มต่อขนาด .18x.18x2x10.5ม. =21ม.
ชนิด 2 ท่อนต่อ และ 3 ท่อนต่อ
78
324
72
20-25
4.
เสาเข็ม
เข็มต่อขนาด .20x.20x2x10.5ม. =21ม.
ชนิด 2 ท่อนต่อ และ 3 ท่อนต่อ
96
400
80
25-30
5.
เสาเข็ม
เข็มต่อขนาด .22x.22x2x10.5ม. =21ม.
ชนิด 2 ท่อนต่อ และ 3 ท่อนต่อ
116
484
88
30-35
6.
เสาเข็ม
เข็มสี่เหลี่ยมตัน ขนาด .24x.24x21ม.
138
576
96
35-40
7.
เสาเข็ม
เข็มสี่เหลี่ยมตัน ขนาด .26x.26x21ม.
162
676
104
40-45
8.
เสาเข็ม
เข็มสี่เหลี่ยมตัน ขนาด .30x.30x21ม.
216
900
120
45-50
9.
เสาเข็ม
เข็มสี่เหลี่ยมตัน ขนาด .35x.35x21ม.
294
1225
140
50-55
10.
เสาเข็ม
เข็มสี่เหลี่ยมตัน ขนาด .40x.40x21ม.
384
1600
160
55-60
             
 
ลำดับ
ขนาด
ชนิด
น้ำหนัก
(kg/m.)
พื้นที่หน้าตัด
(cm2)
เส้นรอบรูป
(cm.)
รับน้ำหนักปลอดภัย
(Ton)
1.
เสาเข็ม 
เข็มรูปตัวไอ ขนาด .13x.13x8ม.
33
138
6.4
2.5
2.
เสาเข็ม
เข็มรูปตัวไอ ขนาด .15x.15x10ม.
33
138
77
3.5
3.
เสาเข็ม
เข็มรูปตัวไอ ขนาด .18x.18x2x14ม.
44
183
93
7-9
4.
เสาเข็ม
เข็มรูปตัวไอ ขนาด .20x.20x16ม.
61
253
100
13-15
5.
เสาเข็ม
เข็มรูปตัวไอ ขนาด .22x.22x21ม.
81
337
108
25-30
6.
เสาเข็ม
เข็มรูปตัวไอ ขนาด .24x.24x21ม.
96
400
118
30-35
7.
เสาเข็ม
เข็มรูปตัวไอ ขนาด .26x.26x21ม.
109
455
128
30-35
8.
เสาเข็ม
เข็มรูปตัวไอ ขนาด .30x.30x21ม.
144
600
147
40-45
9.
เสาเข็ม
เข็มรูปตัวไอ ขนาด .35x.35x21ม.
188
781
179
45-50
10.
เสาเข็ม
เข็มรูปตัวไอ ขนาด .40x.40x21ม.
298
1240
197
50-55