ขอราคา คอนกรีตผสมเสร็จ ซีแพค cpac
ราคาพิเศษ

ผ่าน ไลน์ไอดี: @onestockhome
ทราบหรือไม่ว่า ksc. ที่แท้จริงนั้นหมายถึง Kilogram per Square Centimeter หรือ กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร โดย ksc นั้น จะมีทั้งในรูปแบบ cube หรือ Cylinder ซึ่งหน่วยดังกล่าวนี้ มาจากความต้องการหน้างาน ว่าจะมีการเก็บก้อนปูนแบบใด ตัวอย่างเช่น
คอนกรีต ZBDM24A000 หมายถึง คอนกรีตที่มีกำลังอัด 240ksc (Cube) หรือ 210 ksc (Cylinder นั่นเอง)
ตารางเปรียบเทียบ
CUBE     CYLINDER
180 = 140
210 = 180
240 = 210
280 = 240
300 = 250
320 = 280
350 = 300
380 = 320
400 = 350
420 = 380
450 = 400
480 = 420
500 = 450
550 = 500
600 = 550
650 = 600
850 = 800
คอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตปกติที่ใช้กันทั่วไป ที่ออกแบบให้มีกำลังอัดตั้งแต่ 180-400 กก./ตร.ซม. (โดยทั่วไปแล้ว กำลังอัดของคอนกรีต จะพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ ต้องใช้เวลา 28วัน นับตั้งแต่ผลิต) เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในโครงสร้างทั่วไป เช่น เสา คาน ฐานราก พื้น เป็นต้น การเลือกใช้ คอนกรีตผสมเสร็จ เป็นการลดปัญหาโครงสร้าง ที่เกิดจาก ส่วนผสมที่ไม่แน่นอนและมีกำลังอัดที่ไม่ได้มาตรฐาน จากการผสมคอนกรีตเอง
คุณสมบัติ
  • มีกำลังอัดให้เลือกใช้ ตั้งแต่ 180-400 กก./ตร.ซม. (ทรงลูกบาศก์)
  • มีค่ายุบตัว ให้เลือกใช้ให้เหมาะกับโครงสร้างและวิธีการเท 3 ระดับ คือ
  1. 7.5 +/- 2.5ซม.
  2. 10.0 +/- 2.5ซม.
  3. 12.5 +/- 2.5ซม.
  • ลดปัญหาการผสมมือที่มีส่วนผสมที่ไม่แน่นอน และได้กำลังอัดไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้
เหมาะสำหรับโครงสร้างใด
เหมาะสำหรับใช้งานโครงสร้างทั่วไป เช่น เสา คาน ฐานราก พื้น เป็นต้น
คำแนะนำในการใช้งาน และข้อควรระวัง
    • สำหรับโครงสร้างพื้น ควรเลือกคอนกรีตผสมเสร็จ ที่มีกำลังอัด เหมาะสมกับการใช้งาน และมีขั้นตอนการเตรียมงานและการทำงานพื้นที่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้งานพื้นได้คุณภาพและใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น

การบ่มคอนกรีต

การบ่มคอนกรีต Curing หมายถึง การควบคุมและป้องกันมิให้น้ำส่วนที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาระเหยออก เพื่อช่วยให้ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ทำให้คอนกรีตมีคุณสมบัติทนทาน ทึบน้ำ ไม่สึกกร่อน และช่วยลดการหดตัว
การบ่มคอนกรีต Curing หมายถึง การควบคุมและป้องกันมิให้น้ำส่วนที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาระเหยออก เพื่อช่วยให้ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ทำให้คอนกรีตมีคุณสมบัติทนทาน ทึบน้ำ ไม่สึกกร่อน และช่วยลดการหดตัว

ระยะเวลาในการบ่ม หากทำการบ่มชื้น คอนกรีตที่ใช้ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ประเภทที่ 1 อย่างต่อเนื่อง 7 วัน กำลังอัดที่ได้เมื่ออายุ 28 วัน เท่ากับการบ่มชื้นต่อเนื่อง 28 วัน ดังนั้นจึงควรทำการบ่มคอนกรีสำหรับคอนกรีตที่ใช้ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ประเภทที่ 1 เป็นเวลา 7 วัน สำหรับคอนกรีตที่ใช้ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ประเภทที่ 3 ควรบ่มอย่างน้อย 3 วัน พึงตระหนักว่าการปล่อยปะละเลยไม่เอาใจใส่ต่อการบ่ม ส่งผลเสียต่อกำลังอัดคอนกรีตอย่างมาก ต้องป้องกันอย่าให้คอนกรีตได้รับความสะเทือน และเมื่อพ้นระยะเวลา 24 ชั่วโมงหรือเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วต้องทำการบ่มทันที

วิธีการบ่ม การบ่มในสภาพอุณหภูมิปกติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ การเพิ่มความชื้นและวิธีป้องกันการสูญเสียความชื้น

1. การเพิ่มความชื้น เป็นการเพิ่มความชื้นต่อหน้าผิวของคอนกรีตโดยตรง หลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว โดยการขังน้ำ ฉีดน้ำ พรมน้ำ และใช้วัสดุเปียกชื้นคลุม วิธีการนี้เป็นวิธีการบ่มที่ดี และ ช่วยลดอุณหภูมิที่ผิวคอนกรีต
วิธีการบ่ม ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ
1. การขังน้ำ
เหมาะสมกับงานคอนกรีตที่มีพื้นที่ราบ เช่น แผ่นพื้นทั่วไป ดาดฟ้า พื้นสะพาน ถนนทางเท้า สนามบิน
วิธีการ ทำได้โดยใช้ดินเหนียวหรือก่ออิฐทำเป็นคันโดยรอบของงานคอนกรีตที่จะบ่ม และควรระวังอย่าให้น้ำที่ใช้บ่มมีอุณหภูมิต่ำกว่าคอนกรีตเกิน 10 องศา
1. ทำได้สะดวก ง่าย ราคาถูก
2. วัสดุหาได้ง่าย เช่น ดินเหนียว และน้ำ
3. ใช้คนงานระดับกรรมกรทำได้
4. ซ่อมแซมได้สะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น ทำคันดินเหนียว และพังก็สามารถซ่อมได้ทันที
1. ต้องหมั่นตรวจดูรอยแตกร้าว ของดินเหนียวที่นำมาใช้อยู่เสมอ มิให้น้ำซึมหนี
2. ต้องทำความสะอาดบริเวณคอนกรีตที่บ่ม เมื่องานบ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว
2. การฉีดน้ำหรือพรมน้ำ
วิธีการนี้ใช้ได้ทั้งแนวราบ และแนวดิ่ง เช่น ผนังกำแพง พื้น
1. ทำได้สะดวก ได้ผลดี
2. ค่าใช้จ่ายถูก
3. ใช้คนงานระดับกรรมกรได้
4. ไม่ต้องดูแลตลอดเวลา
1. ไม่เหมาะสมกับสถานที่ที่หาน้ำได้ยาก
2. ไม่สะดวกกับการฉีดกับกำแพงในแนวดิ่ง เพราะน้ำจะแห้งเร็ว
3. การใช้วัสดุเปียกชื้นคลุม
เช่น ผ้าใบ กระสอบ หรือวัสดุอื่นที่อุ้มน้ำได้ดี ถ้าเป็นผ้าใบ ควรใช้สีขาว เพราะสะท้อนความร้อนได้ดี และรอยต่อต้องเหลื่อมกันให้มาก ถ้าใช้ฟางหรือขี้เลื่อย ควรคลุมให้ทั่ว หนามากกว่า 15 ซม. และฉีดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ
1. ได้ผลดีมาก คุ้มต่อการลงทุน
2. ทำได้ทั้งแนวราบ และแนวดิ่ง
3. ใช้คนงานระดับกรรมกรทำได้
4. สามารถหาวัสดุมาใช้ได้ง่าย
1. ถ้าอากาศร้อน จะแห้งเร็ว
2. ถ้าพื้นที่กว้าง การใช้ผ้าใบคลุม จะเปลืองค่าใช้จ่าย
3. ต้องฉีดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ
4. ต้องพิจารณาก่อนที่จะนำวัสดุใดมาใช้ ว่าวัสดุนั้นเป็นอันตรายต่อซีเมนต์ หรือหน้าผิวคอนกรีตหรือไม่


2. วิธีป้องกันการเสียน้ำจากเนื้อคอนกรีต วิธีการนี้ป้องกันความชื้นจากผิวคอนกรีตมีให้ระเหยออกสู่ภายนอก การบ่มด้วยวิธีนี้ทำใด้หลายวิธี

วิธีการบ่ม ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ
1. การใช้กระดาษกันน้ำซึมคลุม
กระดาษนี้ ทำด้วยกระดาษเหนียว ยึดติดกันด้วยกาว ประเภทยางมะตอยและเสริมความเหนียวด้วยใยแก้ว และมีคุณสมบัติยืดหดตัวไม่มาก วิธีการ ใช้รอยต่อควรเหลื่อมกันให้มากพอสมควร และผนึกรอยต่อติดแน่นด้วยกาวหรือเทป หรือทรายก็ได้
1. ทำได้สะดวกรวดเร็ว
2. ป้องกันคอนกรีตไม่ให้แห้งได้เร็ว แต่ต้องคอยราดน้ำไว้ด้วย
3. ใช้คนงานระดับกรรมกรได้
1. ราคาแพง
2. ไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน
3. ไม่สะดวกในการเก็บรักษาต่อไป เมื่อนำมาใช้งานต่อ
2. ใช้แผ่นพลาสติกคลุม
เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และสามารถใช้คลุมงานคอนกรีตที่จะบ่มได้ทันทีที่ต้องการ
1. มีน้ำหนักเบา ปฏิบัติงานง่าย
2. ได้ผลดีจากการป้องกันน้ำระเหยออกไปจากคอนกรีต
3. ไม่ต้องราดน้ำให้ชุ่มอยู่ภายใน
1. บางมาก ชำรุดง่าย
2. ต้องหาของหนักทับเพื่อกันปลิว
3. ราคาแพง ถ้าใช้ในการคลุมงานคอนกรีตที่กว้างมาก
3. การบ่มด้วยน้ำยาเคมีเคลือบผิวคอนกรีต
มีหลายสีด้วยกัน เช่น ใสขาว เทาอ่อน และดำ สำหรับสีขาวจะเหมาะกว่า เพราะสะท้อนความร้อนและแสงได้ดีกว่า โดยการใช้พ่นคลุมพื้นผิวคอนกรีตที่ต้องการใช้งานเร็วๆ เช่น ลานบิน หลังคากว้างมาก งานพิเศษ หรือตึกสูง ที่นำส่งขึ้นไปได้ลำบาก
1. สะดวกรวดเร็ว
2. ได้ผลดีพอสมควร ถ้าน้ำยานั้นเป็นของแท้ และมีความเข้มข้น ตามมาตรฐานของผู้ผลิต
3. ไม่ต้องคอยรดน้ำ
4. ไว้ใช้ในกรณีที่มีการบ่มด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล
1. ค่าใช้จ่ายสูง
2. ต้องจัดเตรียมเครื่องมือสำหรับการพ่นทุกครั้ง
3. ต้องใช้บุคลากรที่เคยทำการพ่นมาก่อน
4. น้ำยาเคมีที่ใช้ อาจทำอันตรายแก่ผู้อยู่ในระยะใกล้เคียงได้
4. การบ่มโดยใช้ไม้หล่อ ต้องพ่นน้ำให้ไม้มีความชื้นอยู่เสมอ ไม้แบบจะป้องกันการเสียความชื้นได้ดีมาก ฉะนั้นควรรักษาไม้แบบไว้ให้นานที่สุด หลังจากถอดแบบแล้ว จึงใช้วิธีอื่นต่อไป 1. ทำได้สะดวก
2. ใช้คนงานระดับกรรมกรทำได้
1. ต้องใช้ไม้แบบจำนวนมาก
2. ช้า เพราะต้องรอไม้แบบไปใช้งานอื่นต่อไป
3. ถ้าเป็นไม้แบบเก่า ต้องเสียเวลาทำความสะอาด
การเทคอนกรีตสำคัญอย่างมากกับคุณภาพของงานโครงสร้าง การเทคอนกรีตที่ดีควรทำให้ส่วนผสมของคอนกรีตกระจายตัวให้ทั่ว ดังแผนภาพตัวอย่างนี้
การเทคอนกรีต
[ตะกร้าสินค้า]
เลือกสินค้าต่อ
คอนกรีตงานชายฝั่งทะเลซีแพค CPAC Marine Concrete
คอนกรีตงานชายฝั่งทะเลซีแพค CPAC Marine Concrete
รหัส:CCT00113
ราคา : N/A On Call โปรดโทรตรวจสอบค่ะ
ชื่อสินค้า:
คอนกรีตงานชายฝั่งทะเลซีแพค

รายละเอียดสินค้า:

CPAC Marine Concrete

  โครง สร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องสัมผัสน้ำทะเล น้ำกร่อยหรืออยู่บริเวณชายฝั่ง รวมทั้งโครงสร้างใต้ดินบริเวณนั้นจะประสบปัญหาความเสียหายอย่างมากจากสภาพ แวดล้อม ดังนั้นในการออกแบบให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานตามที่ต้องการจะต้องคำนึงถึง ความต้านทานความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งคอนกรีตถือว่าเป็นส่วนสำคัญเนื่องจากเป็น "ด่านแรก" ของโครงสร้างที่จะต้านทานความเสียหาย

     เดิมมีความเข้าใจกันว่า คอนกรีตที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ประเภทที่ 5 ซึ่งมีปริมาณ C3A ที่ต่ำจะเหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสน้ำทะเล แต่เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบใน้ำทะเลโดยแท้จริงแล้วพบว่าวิธีการนี้ไม่ เพียงพอเสียแล้ว ทั้งนี้เพราะในน้ำทะเล มีปริมาณซัลเฟตอยู่ประมาณ 10% ส่วนคลอไรด์นั้นกลับมีปริมาณถึง 90% ดังนั้นการคำนึงถึงทุกองค์ประกอบของน้ำทะเล ดูจะมีเหตุผลมากกว่าการพิจารณาแต่เพียงซัลเฟตเท่านั้น
    นอกจากโครงสร้างสัมผัสน้ำทะเลแล้ว โครงสร้างที่สัมผัสไอทะเล ที่อาจจะอยู่ห่างชายฝั่งหลายกิโลเมตรก็ยังจัดว่าเป็นโครงสร้างที่ต้องคำนึง ถึงความต้านทานต่อน้ำทะเลเช่นกัน เนื่องจากเกลือในอากาศสามารถแพร่ไปถึงโครงสร้างที่ห่างจากทะเลถึง 3 กิโลเมตร



เหล็กเสริมภายในโครงสร้างที่สัมผัสน้ำทะเลหรือน้ำกร่อยจะเสียหายจากการกัดกร่อนของคลอไรด์   

 

คลอไรด์ สาเหตุสำคัญของการกัดกร่อนในเหล็กเสริม
    คลอไรด์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำทะเลจะซึมเข้าสู่เนื้อคอนกรีต โดยคลอไรด์อิสระ(Free Chloride) จะเป็นส่วนสำคัญ ทำให้เหล็กเสริมภายในเกิดสนิม สนิมเหล็กจะทำให้คอนกรีตสูญเสียแรงยึดเกาะกับเหล็กเสริม     และจะขยายตัวดันให้คอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมหลุดร่อนนอกจากนั้นพื้นที่หน้าตัด เหล็กเสริมก็จะลดลงจนทำให้โครงสร้างพังทลายได้
   จากการวิจัย และศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อความเสียหายของคอนกรีตบริเวณชายฝั่งทะเล ทำให้ซีแพคสามารถพัฒนาCPAC Marine Concrete ให้มีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมกับงานโครงสร้างบริเวณชายฝั่งทะเล
โดยเฉพาะ

ความสามารถทนทานต่อการแพร่ของคลอไรด์
การ เพิ่มความสามารถในการจับยึดคลอไรด์ในคอนกรีต(Chloride Binding Capacity) การใช้วัสดุเชื่อมประสานที่เหมาะสม ได้แก่ ปูนซีเมนต์ชนิดที่มีปริมาณ C3A เหมาะสม และวัสดุปอซโซลานจะช่วยลดการแพร่ของคลอไรด์
ความ สามารถทนทานต่อแมกนีเซียมซัลเฟต ด้วยความทึบน้ำที่ดีเยี่ยมของ CPAC Marine Concrete แมกนีเซียมอิออนจะแพร่เข้าไปทำลาย CSH ได้ยาก นอกจากนั้น Ca(OH)2 ซึ่งเป็นสารประกอบที่ก่อให้เกิดการขยายตัวก็จะลดลงจากปฏิกริยาปอซโซลานด้วย เช่นกัน

     

ความ สามารถทนทานต่อแรงกระทำทางกายภาพ คุณสมบัตินี้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถต้านทานต่อแรงกระแทกของคลื่นและการขัดสี ของกรวด ทราย โดย CPAC Marine Concrete สามารถอัดแน่นได้ง่ายซึ่งจะทำให้คอนกรีตมีเนื้อสม่ำเสมอ และได้ระยะหุ้มตามต้องการ ดังเห็นได้จากผลทดสอบความสามารถในการต้านทานการขัดสีของ CPAC Marine Concrete ที่มีค่าสูงกว่าคอนกรีตทั่วไปอย่างชัดเจน


สั่งซื้อ
เลือกสินค้าต่อ