คุณลักษณะของเหล็กเส้นกลม | |||||||||
ลักษณะทั่วไป 1. เหล็กเส้นกลม ต้องมีผิวทั้งหมดเรียบเกลี้ยง ยกเว้นที่กำหนดไว้ และต้องไม่มีรอยปริแตกหรือร้าว 2. เหล็กเส้นกลมต้องมีพื้นที่ภาคตัดขวางสม่ำเสมอโดยตลอด และต้องไม่มีปีกหรือเป็นลูกคลื่น คุณสมบัติทางกล 1. สมบัติในการดึง 1.1. ความต้านแรงดึง ต้องไม่น้อยกว่า 385 เมกาปาสกาล (ประมาณ 39 กิโลกรัมแรงต่อตารางมิลลิเมตร) 1.2 ความต้านแรงดึงที่จุดคลาก ไม่น้อยกว่า 235 เมกาปาสกาล (ประมาณ 24 กิโลกรัมแรงต่อตารางมิลลิเมตร) 1.3. ความยืดต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 21 ของการทดสอบให้ปฏิบัติ สมบัติในการดึง 2. การดัดโค้งเย็น เมื่อทดสอบต้องไม่มีรอยแตกหรือปริตรงส่วนโค้งของด้านนอกของชิ้นทดสอบ ตลอดการดัดโค้ง 180 องศา ส่วนประกอบและการทำ เหล็กเส้นกลม ต้องไม่มีปริมาณธาตุคาร์บอน กำมะถัน หรือ ฟอสฟอรัสเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในตาราง |
|||||||||
|
|||||||||
ขนาดและน้ำหนักระบุ | |||||||||
การดัดโค้งเย็น มีเครื่องมือทดสอบ ดังนี้ 1.เครื่องทดสอบที่สามารถจ่ายแรงได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องกันโดยตลอด จนเสร็จการทดสอบ 2. หัวกดรูปตัวยู U และบ่าทั้งสองข้างของฐานที่รองรับต้องสามารถทำชิ้นทดสอบโค้งเป็นรูปตัว U ได้โดยอิสระทั้งหัวกด และฐานที่รองรับ ควรทำเป็นร่องโค้งพอดี อันจะทำให้ชิ้นทดสอบโค้งงอสัมผัสกับหัวกดโดยรอบ และปลายทั้งสองข้างโค้งกลับมาขนานกันเมื่อถูกกด 3. หัวกดรูปตัว U ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของส่วนที่กด 1.5 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางระบุของชิ้นทดสอบ การเตรียมชิ้นทดสอบ + การทดสอบตัวอย่างแต่ละชุด ให้ใช้ชิ้นทดสอบ 1 ชิ้น + ชิ้นทดสอบต้องเป็นไปตามสภาพเดิมของเหล็กเส้นกลม โดยไม่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนแต่อย่างใด + ชิ้นทดสอบต้องยาวเพียงพอ ที่เมื่อถูกกดด้วยเครื่องทดสอบแล้วปลายทั้งสองขช้างของรูปตัว U ต้องโผล่พ้นบ่าของฐานที่รองรับ วิธีทดสอบ + อุณหภูมิที่ใช้ในการทดสอบให้เป็นไปตาม วิธีทดสอบแรงดึง + กดชิ้นทดสอบตรงกึ่งกลางด้วยหัวกดโดยใช้ความเร็วสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการทดสอบจนเสร็จ + ถ้าหากผลการทดสอบที่ได้ ไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ในมาตรฐาน ได้ทดสอบซ้ำด้วยชิ้นทดสอบ |
|||||||||
กรรมวิธีการผลิตเหล็กเส้น วัตถุดิบสำคัญได้แก่ เศษเหล็กที่รับซื้อมาทั้งในและต่างประเทศ จัดกองเก็บไว้ในยุ้งเหล็ก การนำเข้าเตา จะใช้แม่เหล็กดูด ใส่ถังบรรจุป้อนลงเตาพร้อมหินปูนและถ่านโค้กในปริมาณที่เหมาะสม เตาหลอมที่ใช้จะมีขนาด 30 ตันขึ้นไป การหลอมเหล็กใช้พลังงานไฟฟ้า โดยผ่านทางแท่ง Graphite Electrode นอกจากนั้นเตาหลอมได้ติดตั้งหัวฉีดน้ำมันระบบ Jet Burners ซึ่งใช้ออกซิเจนผสมกับน้ำมัน ช่วยให้เวลาของการหลอมเหล็กเร็วขึ้น จากนั้น จะใช้ Oxygen Lancing เป่าไล่สารเจือปน และน้ำเหล็ก จะถูกปรุงแต่งส่วนผสมทางเคมีโดยการเติม Alloy ต่างๆ เป็นต้นว่า ธาตุ C, St, Mn เพื่อให้มีส่วนผสมทางเคมีตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เสร็จแล้ว น้ำเหล็กจะถูกเทใส่เบ้ารับน้ำหนักเหล็กที่อุณหภูมิประมาณ 1650 องศาเซลเซียส เพื่อนำไปหล่อเป็นเหล็กแท่ง Billet ด้วยเครื่องหล่อเหล็กแท่งแบบต่อเนื่อง (Continuous Casting Machine) แต่ละเครื่องมี 3 Strands ขนาดของเหล็กแท่งมีพื้นที่หน้าตัด 100x100มม. ความยาวจะถูกตัดด้วยเครื่องตัด Mechanical Shear ยาวแท่งละ 4.5ม. น้ำหนักแท่งละ 340 กก. ในขบวนการผลิตตั้งแต่การหลอมเหล็กจนหล่อเป็นเหล็กแท่ง มีการเก็บตัวอย่างเป็นช่วงๆ เพื่อควบคุมส่วนผสมทางเคมี โดยวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขบวนการีดเหล็กเส้น และเหล็กลวด เหล็กแท่งถูกป้อนเข้าเตาอบขนาด 30 ตัน/ชม. ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงให้ได้อุณหภูมิประมาณ 1250 องศาเซลเซียส และลำเลียงเข้าสู่แท่นรีด Roughing Mill, Intermediate Mill & Finishing Mill เหล็กเส้นขนาดเล็กมีความยาวมากจะถูกม้วนเป็นคอยล์ coil และจะถูกลำเลียงเข้าเครื่องอัด เพื่อมัดเป็นมัดใหญ่ สามารถรีดออกเป็นเหล็กเส้นตรง Bar ได้ จะถูกลำเลียงเข้าเครื่องตัด Cold Shear ขนาด 250 ตัน เพื่อตัดตามความยาวมาตรฐาน 10 และ 12ม. และมัดลำเลียงเข้ากองเก็บ ส่งลูกค้าต่อไป ในขบวนการรีดดังกล่าวนี้เอง จะมีการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานอุตสาหกรรมก่อนนำส่งลูกค้า |
|||||||||
เหล็กเส้นกลม SR-24
|
เหล็กข้ออ้อย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติทางกล Mechanical Properties
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
คุณลักษณะของเหล็กข้ออ้อย | ||||||||||||||||
ลักษณะทั่วไป 1. เหล็กข้ออ้อยต้องมีผิวทั้งหมดเรียบเกลี้ยง ไม่มีรอยปริ แตกร้าว หรือ เป็นลูกคลื่น 2. เหล็กข้ออ้อยต้องมีบั้งเป็นระยะๆ เท่าๆกัน โดยสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น บั้ง และครีบ ณ ด้านตรงข้ามกัน ต้องมีขนาดรูปร่างเหมือนกัน บั้ง ต้องทำมุมกับแกนของเหล็กเส้นไม่น้อยกว่า 45 องศา ถ้าหากแนวแกนของบั้งทำมุมกับแกนของเหล็กเส้นตั้งแต่ 45 - 70 องศาแล้ว บั้งจะต้องวางสวนทางกันบนแต่ละข้างของเหล็กเส้น หรือบั้งทั้งหมดของด้านหนึ่งสวนทางกับบั้งทั้งหมดของด้านตรงข้าม แต่ถ้าแนวแกนของบั้ง ทำมุมเกิน 70 องศา ก็ไม่จำเป็นต้องกลับทางสลับกันดังแสดงในรูป รูปแสดงตัวอย่างบั้งและครีบของเหล็กข้ออ้อย |
||||||||||||||||
คุณสมบัติทางกล | ||||||||||||||||
สมบัติในการดึง ความต้านแรงดึง ความต้านแรงดึงที่จุดลาก และความยืดของเหล็กข้ออ้อย ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในตาราง แสดงความต้นทานแรงดึงที่จุดคลาก และความยืดของเหล็กข้ออ้อย |
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
การดัดโค้งเย็น เครื่องมือทดสอบ 1. เครื่องมือทดสอบที่สามารถจ่ายแรงได้อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องกัน โดยตลอดจนเสร็จการทดสอบ 2. หัวกดรูปตัว U และบ่าทั้งสองข้างของฐานรองรับ ต้องสามารถทำให้ชิ้นทดสอบโค้งเป็นรูปตัว U ได้โดยอิสระทั้งหัวกดและฐานที่รองรับควรทำเป็นร่องโค้งพอดี อันจะทำให้ชิ้นทดสอบโค้งงอสัมผัสกับหัวกดโดยรอบและปลายทั้งสองข้างโค้งกลับมาขนานกันเมื่อถูกกด 3. หัวกดรูปตัว U จะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางของส่วนที่กด ดังนี้ |
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
การเตรียมชิ้นทดสอบ 1. การทดสอบตัวอย่างแต่ละชุดให้ใช้ชิ้นทดสอบ 1 ชิ้น 2. ชิ้นทดสอบต้องเป็นไปตามสภาพเดิมของเหล็กข้ออ้อย โดยไม่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนแต่อย่างใด 3. ชิ้นทดสอบต้องยาวเพียงพอที่เมื่อถูกกดด้วยเครื่องทดสอบแล้ว ปลายทั้งสองข้างของรูปตัว U ต้องโผล่พ้นบ่าของฐานที่รองรับ วิธีทดสอบ 1. อุณหภูมิที่ใช้ในการทดสอบ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 244 เล่ม 4 2. กดชิ้นทดสอบตรงกึ่งกลางด้วยหัวกดโดยใช้ความเร็วสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการทดสอบจนเสร็จ 3. ถ้าหากผลการทดสอบที่ได้ ไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ ให้ทดสอบซ้ำด้วยชิ้นทดสอบที่ตัดมาจากเหล็กข้ออ้อยชิ้นตัวอย่างเดียวกัน โดยใช้ชิ้นทดสอบใหม่ 1 ชิ้น 4. การรายงานผล ให้รายงานผลการทดสอบแต่ละชิ้น หมายเหตุ เมื่อทดสอบเสร็จแล้ว ชิ้นทดสอบต้องไม่มีรอยแตกหรือปริตรงส่วนโค้งด้านนอกของชิ้นทดสอบ |
||||||||||||||||