ราคา อิฐมอญ คุณภาพดี โรงงานเตาเผาอย่างดี
โปรดแจ้งประเภท ขนาด และจำนวนที่ต้องการใช้
เพื่อสอบถามราคาพิเศษ
พร้อมราคาปูนพิเศษ
เสือมอร์ต้า ก่อทั่วไป 48.25 บาท (รับโรงงาน แก่งคอย)
เสือมอร์ต้า ฉาบทั่วไป 58.90บาท (รับโรงงาน แก่งคอย)
เพื่อสอบถามราคาพิเศษ
พร้อมราคาปูนพิเศษ
เสือมอร์ต้า ก่อทั่วไป 48.25 บาท (รับโรงงาน แก่งคอย)
เสือมอร์ต้า ฉาบทั่วไป 58.90บาท (รับโรงงาน แก่งคอย)
อิฐดินเผา หรือ อิฐมอญ หรือ อิฐก่อสร้างสามัญ หรือ อิฐแดง
มีการเรียกกันหลากหลายชื่อ มาตรฐานของอิฐมอญตาม วสท. ได้กำหนดขนาดของอิฐมอญไว้คือ หนา 5ซม. กว้าง 9.5ซม.
และยาว 20ม. โดยอิฐจะต้องมีความสามารถในการต้านทานแรงอัดได้ไม่น้อยกว่า 20 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
และจะต้องมีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำได้ไม่เกิน 30%
มาตรฐาน มอก. 77-2531 ได้กำหนดขนาดของอิฐมอญไว้ ดังนี้
มาตรฐาน มอก. 77-2531 ได้กำหนดขนาดของอิฐมอญไว้ ดังนี้
ประเภท | ขนาดของอิฐ (มม.) | ||
กว้าง | ยาว | หนา | |
อิฐขนาดเล็ก | 65+3 | 140+5 | 40+2 |
65+3 | 160+5 | 40+2 | |
90+3 | 190+5 | 40+2 | |
อิฐขนาดใหญ่ | 90+3 | 190+5 | 65+2 |
90+3 | 190+5 | 90+3 |
อิฐมอญขนาดเล็ก ทั่วไปมีอยู่ 2 รูปแบบคือ ชนิดทำมือ (จะมีผิวขุขระ) และชนิดปั้นด้วยเครื่อง
(จะมีผิวเรียบและทำให้เบาขึ้นด้วย เพราะรูกลวง 2-3 รูตลอดความยาวอิฐ) ขนาดเฉลี่ยทั่วไปของอิฐมอญคือ กว้าง
3-3.5ซม. กว้าง 6-6.5ซม. และยาว 14.5-15 ซม.
อิฐมอญที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และอัดแน่น ผิวเรียบกว่ามาก เพราะอัดด้วยเครื่องจักร และนิยมใช้ก่อเป็นผนังโชว์ผิว ไม่ต้องฉาบปูนทับ ซึ่งเป็นอิฐที่ใช้ในงานตกแต่ง คือ อิฐ บปท. อิฐ บปก. ฯลฯ โดยขนาดเฉลี่ยทั่วไปของอิฐประเภทนี้คือ หนา 7 ซม. กว้าง 11ซม. และยาว 23ซม.
อิฐมอญที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และอัดแน่น ผิวเรียบกว่ามาก เพราะอัดด้วยเครื่องจักร และนิยมใช้ก่อเป็นผนังโชว์ผิว ไม่ต้องฉาบปูนทับ ซึ่งเป็นอิฐที่ใช้ในงานตกแต่ง คือ อิฐ บปท. อิฐ บปก. ฯลฯ โดยขนาดเฉลี่ยทั่วไปของอิฐประเภทนี้คือ หนา 7 ซม. กว้าง 11ซม. และยาว 23ซม.
อิฐแดง มีรู ก้อนเล็ก (เครื่อง)
135 ก้อน/ตร.ม.
ขนาด 6x14x2.8ซม.
น้ำหนัก 0.3 กก./ก้อน
ขนาด 6x14x2.8ซม.
น้ำหนัก 0.3 กก./ก้อน
อิฐมอญแดงโบราณ (ทำมือ)
125 ก้อน/ตร.ม.
ขนาด 6x14.5x3 ซม.
น้ำหนัก 0.4 กก./ก้อน
ขนาด 6x14.5x3 ซม.
น้ำหนัก 0.4 กก./ก้อน
อิฐก่อโชว์
อิฐราง มอก. 77-2531 77-2545
อิฐราง มอก. 77-2531 77-2545
110 ก้อน/ตร.ม.
ขนาด 6.5x16x4ซม.
น้ำหนัก 0.5 กก./ก้อน
ขนาด 6.5x16x4ซม.
น้ำหนัก 0.5 กก./ก้อน
อิฐมอญโบราณ ก้อนใหญ่ ทำมือ
50 ก้อน/ตร.ม.
ขนาด 20x10x5ซม.
ขนาด 14.5x29.5x4.5ซม.
ขนาด 30x15x5ซม.
ขนาด 20x10x5ซม.
ขนาด 14.5x29.5x4.5ซม.
ขนาด 30x15x5ซม.
อิฐมอญ มอก.
100 ก้อน/ตร.ม.
ขนาด 6x14x3.5ซม.
น้ำหนัก 0.5 กก./ก้อน
ขนาด 6x14x3.5ซม.
น้ำหนัก 0.5 กก./ก้อน
อิฐมอญ มอท. (กลาง)
50 ก้อน/ตร.ม.
ขนาด 7.7x17.9x5.1 ซม.
น้ำหนัก 1.2 กก./ก้อน
ขนาด 7.7x17.9x5.1 ซม.
น้ำหนัก 1.2 กก./ก้อน
อิฐมอญ มอท. (ใหญ่)
40 ก้อน/ตร.ม.
ขนาด 10x22.4x6.6 ซม.
น้ำหนัก 2.5 กก./ก้อน
ขนาด 10x22.4x6.6 ซม.
น้ำหนัก 2.5 กก./ก้อน
อิฐทนไฟ
MOT
MOT
100 ก้อน/ตร.ม.
ขนาด 6x14x3.5ซม.
น้ำหนัก 0.5 กก./ก้อน
ขนาด 6x14x3.5ซม.
น้ำหนัก 0.5 กก./ก้อน
อิฐหนา บปก.
50 ก้อน/ตร.ม.
ขนาด 11x23.x7ซม.
น้ำหนัก 2.8 กก./ก้อน
ขนาด 11x23.x7ซม.
น้ำหนัก 2.8 กก./ก้อน
อิฐแดงมีรูก้อนใหญ่ (แฝด)
60 ก้อน/ตร.ม.
ขนาด 5.5x15x5.2ซม.
น้ำหนัก 0.6 กก./ก้อน
ขนาด 5.5x15x5.2ซม.
น้ำหนัก 0.6 กก./ก้อน
อิฐสี่ช่อง
35 ก้อน/ตร.ม.
ขนาด 11x23x7ซม.
น้ำหนัก 1.7 กก./ก้อน
ขนาด 11x23x7ซม.
น้ำหนัก 1.7 กก./ก้อน
อิฐตัวหนอน
40 ก้อน/ตร.ม.
ขนาด 12x23x5.5ซม.
น้ำหนัก 2.8 กก./ก้อน
ขนาด 12x23x5.5ซม.
น้ำหนัก 2.8 กก./ก้อน
เทคนิคการก่ออิฐมอญ มีดังนี้
1. อิฐมอญทุกชนิดก่อนที่จะนำมาใช้ จะต้องนำไปแช่น้ำให้อิฐอิ่มตัว แล้วยกออกมาวางไว้ให้ผิวอิฐแห้งหมาดๆก่อน จึงจะนำไปใช้ก่อผนังได้ ซึ่งการแช่น้ำก่อนจะช่วยให้อิฐไม่ไปแย่งดูดน้ำจากปูนทรายออกมา ขณะเดียวกันการแช่น้ำก็จะช่วยให้อิฐสะอาดขึ้น ช่วยให้เกิดการยึดเหนี่ยวที่ดี
2. การก่ออิฐจะต้องเริ่มจากมุมก่อนเสมอ การเริมก่อจากมุมขอบผนังหรือขอบเสา จะช่วยให้ผนังมีการยึดเกาะเริ่มต้นที่มั่นคง และสามารถขึงเส้นเอ็นจากมุมหนึ่งไปอีกมุมหนึ่ง เพื่อให้แนวของผนังได้แนวตรง
3. การก่ออิฐ นอกจากต้องขึงเอ็นแนวราบแล้ว ยังต้องขึงเอ็นในแนวดิ่งด้วย เพื่อป้องกันการก่ออิฐมอญ ที่ไม่ได้แนวตรง คดไปคดมา หรือผนังไม่ได้ดิ่ง ซึ่งเป็นปัญหาให้ต้องมาฉาบปูนพอกเพื่อช่วยแก้งานผนังนั้น ให้แลดูตรง และได้ดิ่งภายหลัง และยังจะทำให้ผนังมีน้ำหนักมากขึ้น เป็นภาระต่อโครงสร้างอาคารต่อไป
4. แนวปูนก่อ หรือความหนาของปูนก่อ ควรมีความหนาอยู่ระหว่าง 1-2 เซนติเมตร เพื่อช่วยให้การยึดเหนี่ยวระหว่างก้อนอิฐได้ดี ปูนทรายควรมีความเข้มข้นเหลวที่พอดี ถ้าแนวปูนก่อนหนาน้อยกว่า 1ซม. จะทำให้การยึดเกาะด้อยลง และการถ่ายน้ำหนักของผนังอิฐ จะทำได้ไม่ดี แต่ถ้าหนาเกิน 2 ซม. ก็จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับผนัง และสิ้นเปลืองปูนทรายมาก
5. ผนังอิฐที่เริ่มก่อจากขอบเสา ที่ขอบเสานั้น จะต้องมีการเสียบเหล็กหนวดกุ้งไว้ เพื่อทำหน้าที่ยึดเกาะเกี่ยวผนังอิฐ โดยทั่วไป เหล็กหนวดกุ้ง มีขนาด 6มม. ยาวประมาณ 40-50 ซม. เสียบที่เสาระยะห่างกันประมาณ 30-40 ซม. ผนังที่ไม่มีเหล็กหนวดกุ้งยึดเหนี่ยวอาจจะมีการแตกร้าวง่าย โดยเฉพาะเมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือน
6. ผนังอิฐที่มีการเว้นช่องเปิดไว้ เช่น ช่องประตู ช่องหน้าต่าง จะต้องมีการเสริมเสาเอ็น และคานเอ็น Lintels รัดรอบ เพื่อทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักผนังอิฐ และป้องกันการยึดหดตัวของวงกบไม้ ปัญหาที่เกิดจากการไม่มีเสาเอ็น และคานเอ็นนั้น เราจะพบเห็นได้บ่อยๆ ที่มุมของวงกบ ประตู หรือหน้าต่าง ว่าจะมีรอยแตกร้าวขึ้น
7. ผนังอิฐที่มีความกว้างเกินประมาณ 3-4เมตร หรือสูงเกิน 3เมตร ควรมีการเสริมเสาเอ็น และคานเอ็น เพื่อทำหน้าที่ให้ผนังใช้เป็นที่ยึดเกาะ หรือเป็นการช่วยกระจายน้ำหนักผนังให้สม่ำเสมอ จะช่วยให้ผนังมีความแข็งแรงมากขึ้น
8. การก่อผนังอิฐหรือฉาบปูน จะต้องวางแผนก่อหรือฉาบด้วย ไม่ควรก่อผนังอิฐมอญด้านในที่มีแสงแดดจัดส่อง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ควรหาที่บังแดดมาบังการก่อหรือฉาบ ในขณะที่แสงแดดจัดส่อง เพื่อป้องกันไม่ให้ผนังนั้นแห้งเร็วเกินไป ป้องกันการแตกร้าวได้ในภายหลัง
9. การก่อผนังอิฐจนเกือบถึงใต้คานชั้นบน ควรหยุดเว้นช่องไว้ประมาณ 10-20ซม. ประมาณ 3-5วัน เพื่อรอให้คานคอนกรีตนั้นแอ่นตัวจนอยู่ตัว หรือรอให้ผนังที่เพิ่งก่อเสร็จใหม่ๆนั้นยุบตัวให้คงที่เสียก่อน จึงค่อยก่ออิฐเดิมให้เต็มใต้ท้องคาน จะทำให้ไม่เกิดปัญหาการแตกร้าวของผนังอันเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าว
Credit: วัสดุวิศวกรรมก่อสร้าง รศ.กวี หวังนิเวศน์กุล