งานโครงสร้าง เหนือดิน งานพื้น
งานพื้นอาคาร
พื้นถือเป็นส่วนโครงสร้างที่รับน้ำหนักจากการอยู่อาศัย ได้แก่ น้ำหนักตัวของผู้อยู่อาศัย เครื่องเรือน อุปกรณ์ สัมภาระ ฯลฯ แล้วน้ำหนักทั้งหมด ถ่ายไปที่เสาพื้นเป็นโครงสร้างส่วนที่นำมาชี้บอกลักษณะอาคาร เช่น อาคารบ้านพักอาศัย 2 ชั้น ก็หมายถึง บ้านที่มีพื้น 2 ชั้น โครงสร้างของพื้นที่ใช้กับบ้านพักอาศัยโดยทั่วไป แบ่งตามประเภทของวัสดุได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ โครงสร้างพื้นไม้ และโครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก
โครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก
พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้กับอาคารพักอาศัย ปัจจุบันแยกได้เป็น พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปและพื้นคอนกรีตชนิดหล่อกับที่ ซึ่งแยกตามลักษณะโครงสร้างดังนี้
แผ่นพื้นวางบนดิน Slab on Ground
พื้นประเภทนี้มักใช้กับพื้นอาคารชั้นล่าง ถนนภายใน หรือทางเท้า โดยให้แผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กนี้ ถ่ายน้ำหนักโดยตรงไปที่ดินอัดแน่นใต้พื้น ข้อดีของแผ่นพื้นประเภทนี้คือ ช่วยลดขนาดของคาน ไม่ให้ต้องรับน้ำหนักจากพื้น แต่ถ้าบดอัดพื้นดินที่จะรองรับพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กไม่แน่นพอ พื้นชนิดนี้จะทรุดตัวตามลงไปด้วย จึงต้องมีคานคอดิน Ground Beam อยู่ล้อมรอบพื้นที่ เพื่อทำหน้าที่ช่วยกันดิน ทราย ใต้พื้น ไม่ให้ไหลออกด้านนอก อันจะเป็นสาเหตุให้เกิดช่องว่างใต้พื้นดิน และพื้นขาดส่วนที่จะรับน้ำหนักทำให้เกิดการแตกร้าวได้ ทั้งนี้โดยการหล่อคานคอดินเสียก่อนทำการบดอัดดินภายในให้แน่น แล้วถมทรายอัดแน่นขึ้นมาจนถึงระดับต่ำกว่าคานคอดิน 100 มิลลิเมตร (เท่าความหนาของพื้นที่จะเท) จากนั้นจึงวางเหล็กตะแกรงให้อยู่กรอบในของคานคอดิน แล้วจึงเทพื้นให้หนาเสมอระดับหลังคาน
แผ่นพื้นวางบนคาน Slab on Beam
เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่อยู่สูงจากระดับพื้นดิน จึงต้องให้แผ่นพื้นถ่ายน้ำหนักลงให้ คอนกรีตเสริมเหล็ก โดยหล่อพื้นติดเป็นเนื้อเดียวกันกับคาน ซึ่งจะต้องให้แผ่นพื้นถ่ายน้ำหนักลงให้ คอนกรีตเสริมเหล็ก โดยหล่อพื้นติดเป็นเนื้อเดียวกับคาน ซึ่งจะทำให้ต้องเพิ่มเหล็กทั้งในพื้นและคานเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นต้องรับน้ำหนักของตัวมันเอง น้ำหนักจร แล้วจึงถ่ายน้ำหนักให้คาน คานก็ต้องรับน้ำหนักตัวเอง น้ำหนักผนัง และน้ำหนักทั้งหมดจากพื้น แล้วจึงถ่ายน้ำหนักลงเสาตามลำดับ
พื้นสำเร็จรูป
ในการที่จะหล่อพื้นแบบหล่อกับที่นั้น ต้องทำโครงสร้างแบบเสียก่อน เมื่อหล่อเสร็จแล้วจึงรื้อถอน ซึ่งแตกต่างจากพื้นสำเร็จรูป ซึ่งหล่อสำเร็จมาจากโรงงาน ทำให้ประหยัดเวลา และค่าไม้แบบ ปัจจุบันจึงนิยมกันมากขึ้นและผลิตออกมาหลายแบบ เช่น แบบตัว T แบบตัว U คว่ำ แบบพื้นกลวง Hollow Core โครงสร้างหลักกรณีเหล่านี้ ใช้ร่วมกับโครงสร้างเสาคานนั่นเอง
เมื่อวางพื้นสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จะใช้เหล็กไวร์เมช และเทคอนกรีตทับหน้า Concrete Topping หนาประมาณ 30-50มม.
ข้อแตกต่างระหว่างพื้นสำเร็จรูป และพื้นหล่อในที่
หากแต่ต้องการใช้พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเทหน้างานนั้น จะมีค่าใช้จ่ายสูง (เพราะจะมีค่าใช้จ่ายไม้แบบ สูงไม่ต่ำกว่า 30% ของค่าเหล็กโครงสร้างเสียด้วยซ้ำ) แต่ข้อดีที่ได้ก็คือ มีความคงทน เมื่อนานไป ลดโอกาสบิดงอของแผ่นพื้น ในปัจจุบัน เจ้าของบ้านหลายคนก็เริ่มหันมาเลือกใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จแบบตัน หรือแบบกลวง Hollow Core ซึ่งข้อดีก็คือ ประหยัดเวลาในการติดตั้ง มั่นใจว่าแผ่นได้มาตรฐานรับน้ำหนักที่ต้องการ แล้วก็มีความรวดเร็วในการติดตั้ง ซึ่งแผ่นพื้นลักษณะนี้ก็มีข้อเสียก็คือ การมีโอกาสบิดโก่งได้บริเวณรอยต่อ ระยะเวลาในการผลิตจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ นับแต่มีการยืนยันสั่งผลิต ดังนั้น เพื่อเป็นการวางแผนงานที่ดี การสั่งแผ่นพื้น ควรเริ่มมีการสั่งตั้งแต่เริ่มเทเสา เทคาน เพราะการเทเสา เทคาน ก็ต้องอาศัยระยะเวลาประมาณ 28 วันในการบ่มคอนกรีตให้แข็งตัว ซึ่งก็จะเป็นเวลาพอดีกับช่วงที่แผ่นพื้นผลิตเสร็จ ก็จะสามารถติดตั้งได้เลย ไม่เสียเวลาทำการ
โดยสรุปแล้ว ราคาแผ่นพื้นสำเร็จจะถูกกว่า ประหยัดกว่า รวดเร็วกว่า การหล่อในที่จะได้พื้นที่คุณภาพดีกว่า เป็นแผ่นเดียวกัน แต่จะเปลืองค่าใช้จ่ายปลีกย่อย ค่าแรง และใช้เวลานานกว่า
ภาพตัวอย่างการวางแผ่นพื้นกลวง cpac Hollow Core และการวางเหล็กตะแกรงไวร์เมชทับหน้า ก่อนการเทคอนกรีตสำเร็จ
งานเทคอนกรีตทับหน้า Concrete Topping บนพื้น
วัสดุหลักที่ใช้สำหรับการเทพื้นก็ได้แก่
คอนกรีตสำเร็จรูป
เหล็กไวร์เมช
ไม้แบบ
ตะปูตอกไม้..ในเมื่อเราพูดถึงวัสดุก่อสร้างประเภทอื่นๆมามากแล้ว
หลายๆคนคงไม่เคยให้ความสำคัญกับไม้แบบมาก่อน เจ้าของบ้านหลายท่านหากแต่รู้หรือไม่ว่า ค่าไม้แบบ
(ไม้ที่นำมาทำโครงเพื่อเทคอนกรีต) ของบ้านหนึ่งหลัง ถ้าต้องซื้อใช้ใหม่นั้น
สามารถกินค่าใช้จ่ายของการก่อสร้างได้ไม่ต่ำกว่า 10-15% ของค่าวัสดุก่อสร้างทั้งหมด
ภาพตัวอย่าง การเทคอนกรีตทับหน้าเรียบร้อยแล้ว และบ่มด้วยน้ำหลังการเท
เพราะอะไร ค่าไม้แบบหน้างานจึงสูงลิ่ว ทำอย่างไรจึงจะประหยัดค่าไม้แบบได้ ? ?
สาเหตุที่ค่าไม้แบบสูงลิ่วต่อหนึ่งหน้างานนั้น เป็นเพราะการประเมิณราคาของช่างก่อสร้างโดยมาก จะอ้างอิงค่าไม้แบบ ซึ่งเป็นไม้แบบใหม่ .. แต่ในความเป็นจริง ซึ่งมองในมุมของโรงงานผลิตวัสดุแล้ว โรงงาน หรือโรงไม้ที่ผลิตไม้แบบออกมา ต่างแข่งขันกันที่ ความคงทนของตัวแผ่น คุณสมบัติไม่บิดไม่โก่ง เพื่อที่จะทำให้ไม้แบบแต่ละแผ่น ที่ผ่านกันอบกันปลวกมาแล้วนั้น สามารถถูกนำมาใช้ซ้ำได้อีก ไม่ต่ำกว่า 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ใช้ไม้แบบนั้นๆ ดังนั้น การเลือกใช้ไม้แบบใหม่จากโรงงานนั้น อาจถือได้ว่าเป็นการสิ้นเปลืองวัสดุโดยใช่เหตุ
ทางเลือกที่เจ้าของบ้านมีก็คือ การแจ้งให้ช่างก่อสร้างทราบว่า เจ้าของบ้านเองมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้พอควร เพื่อไม่ให้ต้องเปลืองค่าใช้จ่ายเรื่องไม้แบบในเชิงสิ้นเปลือง และส่วนต่างที่ช่างจะช่วยประหยัดให้นั้น (ซึ่งโดยมากมักจะมากกว่าค่าแรง)เจ้าของบ้านสามารถนำสัดส่วนนั้นมาเป็นทุนสำรองกรณีที่งบก่อสร้างบานปลาย หรือต้องการขยายงาน หรือสามารถเพิ่มให้เป็นค่าแรงช่างในการหาไม้มาก็เป็นได้