ฐานราก และเสาเข็ม

ฐานราก

ฐานราก (Footing) คือโครงสร้างส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจากเสา แล้วถ่ายลงสู่ดิน การใช้ฐานรากแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก จะก่อสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ


งานเทฐานรากเข็ม โดยคอนกรีตที่ใช้คือ 240ksc ซึ่งเพียงพอกับความต้องการและการรับแรงของงานบ้าน


สามารถแบ่งฐานรากออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

1. ฐานรากแผ่ (Spread Footing) คือฐานรากที่แบกรับน้ำหนักจากตัวอาคารแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นดินนั้นได้โดยตรง ดังนั้นการเลือกใช้ฐานรากจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยทางด้านขนาดของน้ำหนักที่บรรทุกว่ามีมากหรือไม่ และกลสมบัติของดินที่สามารถรับน้ำหนักได้ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น บริเวณภาคกลาง และเขตกรุงเทพมหานคร กำหนดให้ดินมีความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 2 ตัน/ตารางเมตร ในขณะที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ดินจะมีความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ประมาณ 8-15 ตัน/ตารางเมตร และบริเวณที่อยู่ใกล้เชิงเขาหรือหาดทราย จะสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้โดยประมาณ 15-30 ตัน/ตารางเมตร

ฐานรากแผ่
ฐานรากแผ่
ฐานรากแผ่
ภาพตัวอย่าง ฐานรากแผ่น (ที่มา สมศักดิ์ คำปลิว 2527)


2. ฐานรากเข็ม (Pile Footing) คือฐานรากที่แบกรับน้ำหนักจากตัวอาคารแล้วจะถ่ายน้ำหนักลดสู่ตัวเสาเข็มก่อน จากนั้นเสาเข็มก็จะทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นดินที่ลึกลงไป การเลือกใช้ฐานรากต้องมีเสาเข็มมารองรับนี้ ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านขนาดน้ำหนักที่บรรทุกว่ามีมากเกินกว่ากลสมบัติของดินที่จะได้รับหรือไม่ ถ้ากลสมบัติของดินในท้องถิ่นนั้นๆ อ่อนตัวมากๆ ถ้าไม่ใช้เสาเข็มรองรับ ก็อาจจะทำให้อาคารทรงตัวอยู่ไม่ได้ เหมือนกับการที่เราเอาเก้าอี้ซึ่งมี 4 ขา และแข็งแรงดีไปวางลงบนดินเลน ในไม่ช้าเก้าอี้นั้นก็จะเอียงตัวจนล้มไปได้ แต่ถ้าเราต่อขาเก้าอี้ให้ยาขึ้นจนทะลุชั้นเลนนั้นลงไป ก็จะพบกับชั้นดินที่แข็งขึ้น เป็นผลให้เก้าอี้นั้นมีเสถียรภาพตั้งอยู่ได้ นิยมใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร


ภาพตัวอย่าง ฐานรากเข็ม


ฐานรากเข็ม ยังแบ่งประเภทของเสาเข็มที่มารองรับได้อีก 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1. ฐานรากเสาเข็มสั้น Friction Pile เป็นฐานรากที่แบกรับน้ำหนักไม่มากนัก และก่อสร้างอยู่บนชั้นดินอ่อน เช่น อาคารบ้านพักอาศัยทั่วไปที่ปลูกสร้างในเขตภาคกลาง การแบกรับน้ำหนักของเสาเข็ม จะอาศัยความเสียดทาน Friction ของดินที่มาเกาะรอบๆตัวเสาเข็มเท่านั้น ความยาวของเสาเข็มสั้นที่สะดวกต่อการปฏิบัติงานโดยทั่วไป จะมีความยาวประมาณ 6-16 เมตร ถ้าความยาวไม่เกิน 6 เมตร ก็สามารถใช้แรงงานคนและสามเกลอตอกลงไปได้ แต่ถ้ายาวมากกว่า 6 เมตรขึ้นไป จะตัองใช้ปั้นจั่นเป็นเครื่องตอก

2. ฐานรากเสาเข็มยาว Bearing Pile เป็นฐานรากที่ต้องแบกรับน้ำหนักมาก และก่อสร้างอยู่บนชั้นดินอ่อน เช่น อาคารสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ การแบกรับน้ำหนักของเสาเข็ามยาวนี้ จะต้องอาศัยทั้งความเสียดทาน (Friction) ของดิน และการแบกรับน้ำหนักที่ปลายเสาเข็ม Bearing ซึ่งหยั่งถึงชั้นทรายในระดับความลึก 21 เมตรขึ้นไป ความยาวของเสาเข็มซึ่งยาวมากกว่า 21 เมตรนั้น ในทางปฏิบัติแบ่งเป็น 2 ท่อน แล้วค่อยๆตอกลงด้วยปั้นจั่น ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรผู้ออกแบบเสมอ และการใช้สองท่อนต่อกัน ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาเสาเข็มเคลื่อนหลุดออกจากกันในภายหลังได้ อาจเป็นผลให้เกิดการทรุดตัวได้เช่นกัน


ประเภทเสาเข็ม


เสาเข็มสั้น Friction Pile

เสาเข็มคอนกรีตประเภทนี้ มีผลิตขายในหลายรูปร่าง เช่น รูปตัวที (T) รูปตัวไอ (I) รูปหกเหลี่ยมกลวง และรูปสี่เหลี่ยมตัน ขนาดหน้าตัดทั่วไปคือ 15x15ซม. และ 18x18ซม. ส่วนความยาวสามารถสั่งซื้อได้ตั้งแต่ 1-8 ม. ถ้าความยาวมากกว่านี้สัดส่วนก็จะไม่เหมาะสมและหักได้ง่าย
ความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มสั้น
จากกฏกระทรวง กำหนดไว้ว่า ถ้าไม่มีผลทดสอบจริง ให้ใช้ค่าความฝืดหรือความเสียดทานของดินรอบเสาเข็มดังนี้
1. ดินที่อยู่ในระดับความลึกไม่เกิน 7 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ใช้ค่าแรงฝืดของดินไม่เกิน 600 กิโลกรัม/ตร.ม. และ
2. ดินที่อยู่ลึกกว่า 7ม. จากระดับน้ำทะเบปานกลาง ให้ใช้ค่าแรงฝืดตามสมการดังนี้
หน่วยแรงฝืด = 600 + 220e (กิโลกรัม/ตร.ม.)

วิธีความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็ม เช่น เสาเข็ม ขนาด 6นิ้ว ยาว 6ม. จะคำนวณได้โดยการคำนวณเส้นรอบรูปเสาเข็ม คูณความยาวเสาเข็ม แล้วคูณกับค่าแรงฝืดที่กำหนด เช่น
เสาเข็มขนาด 6 นิ้ว ยาว 6ม. จะรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 1,700 กิโลกรัม/ตัน
เสาเข็มขนาด 5 นิ้ว ยาว 5ม. จะรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 1,200 กิโลกรัม/ตัน
เสาเข็มขนาด 4 นิ้ว ยาว 4ม. จะรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 750 กิโลกรัม/ตัน
เสาเข็มขนาด 3 นิ้ว ยาว 3ม. จะรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 400 กิโลกรัม/ตัน


เสาเข็มยาว Bearing Pile

สามารถแบ่งตามชนิดการก่อสร้างได้ดั้งนี้


เข็มตอกคอนกรีตอัดแรง Prestress Concrete Pilling

เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จรูป Precast Concrete Pile เป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่หล่อจากโรงงาน ผลิตโดยอาศัยเทคนิคการดึงลวดรับแรงดึง Pre-tension Method แล้วเทคอนกรีตลงในแบบหล่อ ในขณะที่แรงดึงในเส้นลวด Tendon ยังคงค้างอยู่ เมื่อคอนกรีตแข็งตัวจนได้กำลังอัดตามเกณฑ์แล้ว จึงตัดลวดรับแรงดึงออก โดยปกติการถ่ายกำลังจากลวดรับแรงดึงสู่คอนกรีต จะต้องใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดไม่ต่ำกว่า 250 กก./ตร.ซม. และเมื่อคอนกรีตอายุครบ 28 วัน คุณสมบัติของคอนกรีต เมื่อทดสอบด้วยรูปทรงลูกบาศก์ขนาด 15x15x15ซม. ต้องมีกำลังอัดประลัยไม่ต่ำกว่า 420 กก./ตร.ซม. หรือเมื่อทดสอบด้วยรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว สูง 12 นิ้ว ต้องมีกำลังอัดประลัยไม่ต่ำกว่า 350 กก./ตร.ซม. ปูนซีเมนต์ที่ใช้อาจเป็นชนิดแข็งตัวเร็ว Rapid Hardening Strength cement, Type III หรือ ชนิดปอร์ตแลนด์ธรรมดา Ordinary Portland cement Type I ผสมสารเร่งการก่อตัว โดยมีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ไม่น้อยกว่า 400 กก./ลบ.ม.ของคอนกรีต บ่มคอนกรีตด้วยน้ำหรือไอน้ำ กำลังดึงประลัยสูงสุดของลวดต้องไม่ต่ำกว่า 17,500 กก./ตร.ซม.

เหล็กปลอกลูกตั้ง ควรใช้เหล็กกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9มม.

เข็มประเภทนี้ เป็นเข็มที่ราคาค่อนข้างประหยัด ทำงานได้รวดเร็ว เป็นที่นิยม และมีผู้ผลิตแพร่หลาย มีหน้าตัดต่างๆกัน เช่น สี่เหลี่ยมตัน รูปตัวไอ รูปวงกลม  ข้อเสียหลักของการใช้เข็มตอกก็คือ ระหว่างการตอก จะเกิดการสั่นสะเทือนมากกว่าเข็มอื่นๆ หน้าตัดของเข็มจะเป็นรูปตัวไอ I หรือสี่เหลี่ยมตัน โดยทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 8-9 และ 20-30 ม./ท่อน จึงควรจะต่อใช้ตามจำนวนที่เหมาะกับความยาวที่ต้องการ ความยาวของตัวเข็ม ขึ้นอยู่กับประเภทดินของเขตนั้นๆ พื้นที่ที่ใกล้แม่น้ำหรือเป็นแอ่งมาก่อน จะมีความจำเป็นต้องตอกให้ลึกกว่าพื้นที่อื่น กรณีที่ไม่มีความแน่ใจ นอกจากจะสามารถสอบถามเทศบาลแล้ว ยังสามารถเลือกสอบถามข้างบ้านว่ามีการเลือกวางเข็มที่ความลึกเท่าไร เข็มที่เป็นที่นิยม คือเข็ม I18 I22 I26 

เสาเข็มเจาะ Boring Pile

ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยม วิธีการไม่ยุ่งยาก จะเหมาะกับบ้านที่ก่อสร้างติดกัน หรือกรณีที่พื้นที่ทางเข้าแคบมาก รถใหญ่ไม่สามารถเข้าได้ การใช้เข็มเจาะจึงจะเหมาะกับสถานการณ์กว่า มีทั้งแบบ+ ขนาดเล็ก Small Bored Pile เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 30-60ซม. สามารถเจาะได้ลึกประมาณ 20-30 เมตร ซึ่งเป็นชั้นทรายชั้นแรกที่มีน้ำใต้ดินอยู่ ทำให้เจาะลึกกว่านี้ไม่ได้ เราจึงเรียกเสาเข็มเจาะขนาดเล็กนี้ว่าเป็น ระบบแบบแห้ง Dry Process การเลือกใช้เสาเข็มเจาะขนาดเล็กนี้จะใช้เพื่อทดแทนเสาเข็มตอกคอนกรีตอัดแรง ด้วยเหตุผลหลายประมาณ เช่น ไม่สามารถขนส่งเสาเข็มตอกไปในพื้นที่ก่อสร้างได้ การตอกเสาเข็มจะก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนและเสียงดัง ชุมชนอาจจะไม่ยินยอม สถานที่ที่จะตอกนั้นคับแคบ ไม่สามารถนำปั้นจั่นเข้าไปตอกได้ หรือเพื่อใช้งานซ่อมแซมอาคารเดิมที่ไม่สามารถนำเสาเข็มตอกเข้าไปตอกในอาคารได้ + ขนาดใหญ่ Large Bored Pile เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 60ซม. ขึ้นไป สำหรับความลึกตั้งแต่ 25-60ม. เป็นเสาเข็มที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างขนาดใหญ่มาก เช่น สะพานลอยฟ้า สะพานทางหลวง อาคารสูงมาก ฯลฯ เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่นี้ จะมีทั้งระบบแบบเปียก และระบบแบบแห้ง สำหรับระบบแบบเปียกนั้น ใช้ในกรณีที่ชั้นดินมีน้ำใต้ดิน ซึ่งน้ำใต้ดินจะดันให้หลุมที่เจาะพังทลายได้ จึงต้องใส่น้ำผสสารละลายเบนโทไนต์ Bentonite ลงไปในหลุมเจาะด้วย เพื่อทำหน้าที่ต้านทานน้ำใต้ดินและเคลือบผิวหลุมเจาะไม่ให้พัง ส่วนระบบแห้งนั้นจะใช้ในกรณีที่ชั้นดินไม่มีน้ำใต้ดิน และสภาพดินมีความหนาแน่น ไม่ทำให้หลุมที่เจาะพังได้โดยง่าย




เสาเข็มเจาะ ระบบแห้ง

เสาเข็มเจาะระบบแห้ง Dry Process เป็นเสาเข็มที่เหมาะกับเสาเข็มที่มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 0.35-0.60ม. ความลึกของหลุมเจาะไม่ลึกมากนัก ก้นหลุมเจาะยังอยู่ในชั้นดินเหนียวแข็ง Stiff Clay หรือชั้นทรายที่ไม่มีน้ำ การนำดินขึ้นมาจากหลุมเจาะ ใช้เครื่องมีประเภทสว่าน Auger หรือกระบะตักดิน Bucket นำดินขึ้นมาเท่านั้น ภายในหลุมเจาะต้องไม่มีน้ำ และการพังทลายของดินในหลุมเจาะควรน้อยหรือไม่มีเลย 



เสาเข็มระบบเปียก

เสาเข็มระบบเปียก Wet Process หรือ Slurry Method เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.50ม. เป็นต้นไป ไม่จำกัดความลึกของหลุมเจาะ สำหรับอาคารขนาดใหญ่ อาจะเลือกใช้ระดับความลึกประมาณ 40-50 เมตร จากระดับพื้นดิน การป้องกันดินพังทลาย ใช้เทคนิคการสร้างสภาพแวดล้อมของหลุมเจาะให้มีเสถียรภาพ โดยการใช้ของเหลวประเภท Bentonite Slurry ซึ่งเป็นสารละลายที่ช่วยสร้างแรงดันในหลุมเจาะ ป้องกันดินพังทลาย และแรงดันน้ำในดิน ใส่ลงในหลุมเจาะ และการเทคอนกรีตโดยวิธีการเทคอนกรีตใต้น้ำผ่านท่อ Tremie Pipe เพื่อป้องกันมิให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว เมื่อไปสัมผัสกับสารละลาย Bentonite โดยตรง

ข้อดีของเสาเข็มเจาะ
1. สามารถลดแรงสั่นสะเทือน และเสียงรบกวนเนื่องจากการตอกเสาเข็ม
2. สามารถเข้าไปทำงานในพื้นที่ หรือที่ที่มีความสูงจำกัดได้
3. สามารถเลือกความยาวได้ตามต้องการ เพื่อให้เมาะสมกับน้ำหนักบรรทุก
4. ไม่จำเป็นต้องออกแบบรับแรงดัดเนื่องจากการขนย้าย หรือรับแรงกระแทกเนื่องจากการตอก
5. สามารถตรวจสอบชั้นดินที่ปลายเข็มได้แน่นอนกว่า อยู่ในชั้นดินแข็ง
6. เสาเข็มไม่แตกร้าวขณะทำการก่อสร้าง
7. ไม่ทำฐานราก หรือโครงสร้างของอาคารข้างเคียง เสียหาย เนื่องจากการไหลของดินอ่อน
8. สามารถเพิ่มแรงต้านส่วนปลาย End Bearing กรณีการตอกกระทุ้งด้วยลูกตุ้มเหล็ก
9. ช่วยแก้ปัญหาอาคารทรุดโดยไม่ต้องรื้อทำลายอาคารเดิม
ข้อเสียของเสาเข็มเจาะ
1. ราคาแพงกว่าเสาเข็มตอก
2. ไม่สามารถหล่อเสาเข็มให้พ้นระดับพื้นดินขึ้นมาได้
3. ไม่สามารถตรวจสอบคอนกรีตที่เทลงในหลุมเจาะได้โดยทั่วถึง ซึ่งหาผู้ปฏิบัติขาดความชำนาญ อาจะเกิดปัญหาดินพังทลาย ทำให้เสาเข็มมีลักษณะเป็นคอคอดได้
4. จำเป็นต้องมีการลำเลียง ขนส่งดินออกจากสถานที่ก่อสร้าง
งานผูกเหล็ก เทคาน เทเสา

ช่างหรือผู้รับเหมาจะมีการแบ่งกลุ่มแรงงาน สำหรับเตรียมเหล็กสำหรับเสา และคาน ซึ่งทางเลือกที่มีก็คือ การสั่งเหล็กมาตามจำนวนที่ต้องการเบื้องต้น แล้วช่างใช้เครื่องมือดัดที่หน้างาน ชิ้นส่วนเหล็กที่ต้องใช้ก็ได้แก่ เหล็กเสา เหล็กคาน (มักเป็นเหล็กเหยียดตรง มีดัดช่วงปลาย) เหล็กปลอกเสา ปลอกคาน เหล็กลวดไว้สำหรับผูกเหล็กเสา เข้ากับเหล็กปลอกเสา ข้อเสียของการดัดเหล็กหน้างานคือ เปลืองค่าแรง เสียเวลา และเปลืองค่าวัสดุ เพราะจะต้องมีค่าเหล็กที่เหลือจากการดัด ซึ่งโดยมาก เจ้าของบ้านจะไม่สามารถประเมิณได้ว่าเป็นมูลค่าเท่าไร ทั้งนี้เรามีทางเลือกใหม่ ที่จะช่วยลดปริมาณเหล็กที่เหลือจากการดัด ให้กับเจ้าของบ้านหรือเจ้าของโครงการ นั่นก็คือ การดัดเหล็กเสา เหล็กคาน เหล็กปลอกเสา เหล็กปลอกคาน สำเร็จรูป จากโรงงานที่จำหน่ายเหล็ก ม.อ.ก. ซึ่งจะทำให้เราสามารถนับเหล็กเหล่านี้ได้ และมั่นใจได้ ว่าไม่มีเหล็กสูญหาย

งานวางแบบ สิ่งที่ต้องเตรียมหน้างานก็ได้แก่ไม้แบบ หน้างานหลายที่ มักจะใช้ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำมาตัด และประกอบเป็นแบบเพื่อเทเสา เทคาน ทั้งนี้ทางเลือกในตลาดก็มี การเลือกใช้ไม้แบบ ซึ่งทำจากไม้จ๊อยท์ ซึ่งไม้ลักษณะนี้ ข้อดีคือจะไม่โก่ง ไม่งอ ใช้งานได้หลายรอบ .. แต่เนื่องจากหน้างานหนึ่งๆ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ไม้ประเภทนี้มักจะไม่ได้นำมากลับใช้งานอีก การใช้ไม้จ๊อยท์ ซึ่งแม้จะสามารถนำกลับมาใช้เป็นไม้พื้นในบางส่วนได้ จึงไม่ได้เป็นที่นิยมนัก

ก่อนที่จะทำแบบพร้อม และก่อนที่เหล็กผูกครบ ก็ถึงเวลาที่ควรเริ่มวางแผนสอบถามราคา คอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งมีหลายแบรนด์ให้เลือก โดยที่ลูกค้าบางคนอาจจะเน้นความสะดวกไปที่การสั่งโดยตรงจากโรงงาน แต่อาจจะไม่ทราบว่าการซื้อผ่านตัวแทน เช่น วันสต๊อกโฮม จะทำให้เจ้าของบ้านประหยัดค่าคอนกรีตเทได้ลงอย่างชัดเจน โดยหลักการสอบถามราคา เจ้าของบ้านควรที่จะมองว่าปริมาณทั้งหมดที่ต้องใช้ เป็นเท่าไร แล้วนำจำนวนนั้นมาแจ้ง เพื่อที่จะสามารถต่อรองราคาที่ดีที่สุดให้ได้ การคิดราคาของคอนกรีต คือ ขั้นต่ำของการส่งฟรีคือการเลือกเทคอนกรีตครั้งละ 4 คิว (4-0)ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม กรณีสั่ง 3 คิว จะมีค่าใช้จ่ายชดเชยจำนวนคอนกรีตที่หายไป 1 คิว (4-3) หรือกรณีสั่ง 2 คิว ก็จะมีค่าใช้จ่ายชดเชยจำนวนคอนกรีตที่หายไปจำนวน 2 คิว (4-2)




เหล็กเส้น เหล็กเสา เหล็กคาน เหล็กปลอกเสา เหล็กปลอกคาน สำเร็จรูป มอก.
เนื่องจากโรงงานผลิตเหล็กเส้นในปัจจุบันมีค่อนข้างหลากหลาย จึงทำให้ราคา เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย มอก. ที่ได้มาตรฐานเป็นสินค้าที่สั่งซื้อได้ง่าย การจำหน่ายเหล็กของวันสต๊อกโฮม คือการส่งตรงจากโรงงาน จึงช่วยให้เจ้าของบ้านไม่ได้รับผลกระทบด้านต้นทุนสต๊อกสินค้า ส่งผลให้ราคาที่ได้รับ เป็นราคาย่อมเยา ยืนยันว่าประหยัดได้จริง พร้อมได้เหล็กคุณภาพดี มี มอก.

ยกตัวอย่างการทำงานของเหล็ก บลกท. และเหล็ก SSS ซึ่งเป็นโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน เจ้าของบ้านมีโอกาสซื้อในราคาที่ดีลกับโรงงานเหล่านี้โดยตรง ได้ใช้การผลิตเหล็กแบบ EAF Electric Arc Furnace หรือเรียกว่า การผลิตผ่านเตาหลอมไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เหล็กที่ยืดออกมาเป็นเส้น มีความต้านแรงดึงจุดคราก ความยืด พื้นที่หน้าตัด น้ำหนัก และขนาดได้มาตรฐาน เหล็กถูกหลอมเป็นเส้นเดียวกัน ให้ Strength ที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัยสำหรับตัวอาคาร

เหล็กเสา เหล็กคาน คืออะไร ช่วยประหยัดได้อย่างไร ? ?
สิ่งที่เจ้าของบ้านมักจะมองไม่เห็นคือ เศษวัสดุ เศษเหล็ก ที่จำเป็นต้องทิ้ง เนื่องจากวัสดุเหล่านั้นถูกตัดนำมาใช้ให้เหมาะกับขนาดที่ตรงกับแบบ จึงทำให้เกิดเป็นเศษวัสดุ ไม่สามารถนำมาใช้ต่อกับหน้างานนั้นๆได้ .. การเลือกใช้เหล็กเสา เหล็กคาน เหล็กปลอกเสา เหล็กปลอกคานสำเร็จรูป จะช่วยให้สามารถเก็บเหล็กสำเร็จรูปเหล่านี้หน้างานเป็นจำนวนชิ้นที่ใช้ เพราะนอกจากจะมั่นใจได้ว่าได้วัสดุที่ได้มาตรฐาน ราคาไม่แพง (คิดตามน้ำหนักที่ใช้จริง) เหล็กไม่สูญหายหน้างานแล้ว ยังทำให้มั่นใจได้ว่างานเสร็จเร็ว เพราะการใช้เหล็กสำเร็จรูป จะช่วยประหยัดค่าแรงการดัดเหล็กหน้างาน ค่าเช่าเครื่องมือด้วย