เพิ่มช่องระยะห่างระหว่างเสามากกว่า
เนื่องจากจำนวนเสาที่ลดลง ทำให้พื้นที่ใช้สอยภายในตัวอาคารเพิ่มมากขึ้น
เพิ่มความคล่องตัวในการจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอย
เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดเรื่องคานและเสา ทำให้การเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมแนวกั้นผนังหรือกำแพง เป็นไปได้อย่างสะดวก
ลดความสูงระหว่างชั้น
เนื่องจากความหนาของพื้นที่บางกว่าพื้นแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก จึงช่วยลดความสูงระหว่างชั้นของอาคารและประหยัดโครงสร้างอื่นๆ ทำให้อาคารมีต้นทุนการก่อสร้างต่ำ
เพิ่มพื้นที่ใช้งานมากกว่า
จากการลดระดับความสูงระหว่างชั้น ทำให้สามารถสร้างอาคารได้ถึง 16 ชั้น ในระดับความสูงเท่ากับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่สร้างได้เพียง 13 ชั้น และยังสามารถประหยัดพื้นที่ส่วนที่เป็นบันไดและทางขึ้นลงของรถยนต์ในแต่ละชั้นได้อีกด้วย
ให้โครงสร้างมีน้ำหนักน้อย
ช่วยทำให้ลดค่าก่อสร้างของฐานรากตามไปด้วย
ก่อสร้างได้รวดเร็ว
เนื่องจากการติดตั้งไม้แบบและถอดแบบเป็นลักษณะแบนราบโดยตลอด ทำให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบอื่น
เพิ่มความมั่นคงของโครงสร้าง
เนื่องจากต้องหล่อในที่ จึงมีผลทำให้โครงสร้างมีความต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกันทั้งระบบพื้นและเสา จึงให้ความมั่นคงกว่าระบบพื้นทั่วๆไป
เพิ่มความต้านทานต่อรอยแตกร้าวและลดปัญหาการซึมของน้ำ
เนื่องจากแผ่นพื้นจะมีแรงอัดกระทำอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีคุณสมบัติของการต้านทานต่อรอยแตกร้าว
|