ราคาเหล็ก I-BEAM ไอบีม มอก. 1227-2536 28 ก.พ.62 ราคาเหล็กบีม คงที่ ตอนนี้มีเหล็กบีมไร้สนิม ทำโดย SYS
สอบถามราคาด่วน!!* * โปรดสอบถามราคาพิเศษ * *
เหล็กรูปพรรณชนิดรีดร้อน ใช้กับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ รับน้ำหนักได้มาก นิยมใช้ทำเสา คาน
ลักษณะเส้นตรง ความยาวมาตรฐาน 6ม. หน้าตัด กว้างxยาว เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่ขอบปีกบนล่าง
ด้านในมีความหนามากกว่าบริเวณปลายปีก
หน้าตัดที่เป็นรูปทรงของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
ทำให้เหล็กมีคุณสมบัติในการรับแรงในแนวต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยน้ำหนักที่เบากกว่าโครงสร้างคอนกรีต เหมาะสำหรับใช้งานโครงสร้างชนิดต่างๆ เช่น โรงงาน อาคารสูง
สนามกีฬา เสาส่งไฟฟ้า ตลอดจนบ้านพักอาศัย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน มีหน้าตัดเป็นรูปตัวเอช
เรียกกันว่า H-beam มีปีกกว้าง (Wide Flange) เหมาะสำหรับงานโครงสร้างคาน เสา และโครงหลังคา
ส่วนหน้าตัดรูปตัวไอ I-beam ปีกเหล็กจะหนาขึ้นที่โคนปีก จึงรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี
เหมาะกับงานเครื่องจักร รางเครน สำหรับเหล็กฉากหรือ Angle มีหน้าตัดรูปตัว L ใช้งานโครงสร้างหลังคา
เสาส่งไฟฟ้าแรงสูง เสาวิทยุ เสาโทรศัพท์ อีกหน้าตัดหนึ่ง คือ รางน้ำ หรือ Channel มีหน้าตัดรูปตัว C
นิยมใช้ทำคานรองรับส่วนประกอบต่างๆ เช่น บันได คานขอบนอก นอกจากนั้น เอชบีมที่นำมาตัดแบ่งตามยาว
เรียกว่า Cut Beam หรือ Cut-T ใช้ทำโครงสร้างของ Truss แทนการใช้เหล็กฉากเชื่อมประกบกัน
ข้อดีของการใช้เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
+ ลดระยะเวลาการก่อสร้าง ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยของโครงการ เปิดใช้งานได้รวดเร็ว
+ เตรียมงานจากโรงงานได้ และใช้แรงงานน้อยกว่าการก่อสร้างด้วยระบบอื่น
+ ออกแบบโครงสร้างให้มีช่วงเสากว้าง กว่าโครงสร้างระบบอื่น ไม่เปลืองพื้นที่ใช้งาน
+ ออกแบบงานสถาปัตยกรรมได้หลากหลายเช่น ตัดโค้ง ทำใครงสร้างโปร่ง หรือทำส่วนยื่่นได้มาก
+ โครงสร้างมีน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดฐานราก ลดการขนส่ง และพื้นที่กองเก็บวัสดุ
+ ตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพ และบำรุงรักษาได้สะดวกกว่าโครงสร้างอื่น
+ มีความแข็งแรง สามารถรับแรงสั่นสะเทือนและแผ่นดินไหว ได้ดีกว่าโครงสร้างระบบอื่น
+ ก่อสร้างในที่จำกัดได้สะดวก ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะฝุ่น
+ ดัดแปลง ต่อเติม หรือรื้อไปสร้างใหม่ได้ ไม่ต้องทุบทิ้ง
+ สามารถนำวัสดุมาหมุนเวียนได้ 100%
กระบวนการผลิตเหล็กโครงสร้าง รูปพรรณรีดร้อน เริ่มจากการนำเศษเหล็กมาหลอมในเบ้าขนาดใหญ่ด้วยความร้อนสูงกว่า 1600 องศาเซลเซียส จนกลายเป็นน้ำเหล็ก แล้วเติมโลหะปรุงแต่งส่วนผสมเพื่อให้มีความแข็งแรงตามเกรดที่ต้องการ เมื่อปรุงแต่งส่วนผสมแล้ว จึงนำมาหล่อให้เป็นแท่ง หลังจากนั้น นำเหล้กแท่งมารีดด้วยแท่นรีดขนาดใหญ่ ที่อุณหภูมิประมาณ 1200 องศาเซลเซียส รูปร่างหน้าตัดของเหล็กแท่งจะถูกลดขนาดและแปรเปลี่ยนไปตามแบบของลูกรีด จนมีขนาดมาตรฐาน จุดสำคัญในการการทำคือ การควบคุมส่วนประกอบทางเคมีของการหลอมแต่ละเบ้า Heat การรีดเหล็กร้อนให้เป็นรูปร่างที่มีความกว้างและความหนาให้พอดีตามที่กำหนด และการทดสอบความแข็งแรง
เนื่องจากผลิตโดยการหลอมและรีดร้อนขึ้นเป็นท่อน เหล็กโครงสร้างชนิดนี้จึงมีเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยเชื่อมระหว่างส่วนต่างๆ ดังนั้นคุณสมบัติของหน้าตัดจึงสม่ำเสมอกว่าเหล็กโครงสร้างชนิดอื่นเช่น เหล็กรูปพรรณกลวงซึ่งทำจากเหล็กม้วนและเชื่อมตามยาว กับเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเชื่อมประกอบที่ทำจากเหล็กแผ่นสามชิ้นเชื่อมเข้าด้วยกัน
เกรดหรือชั้นคุณภาพ
เกรดของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เป็นตัวระบุความแข็งแรงของเนื้อเหล็ก เหล็กที่ใช้งานโครงสร้างมีความต้านแรงดึง Tensile Strength ในระดับ 400N/mm2 ขึ้นไป เช่น ASTM A36, JIS/TIS SS400, SM400 เป็นต้น
วิศวกรบางท่านอาจคุ้นเคยกับเหล็ก ASTM A36 เนื่องจากมีในตำราออกแบบที่มีพื้นฐานจากต่างประเทศ แต่ไม่สามารถหาได้ในท้องตลาด จึงมักเกิดปัญหาการใช้งาน ดังนั้นการออกแบบในปัจจุบันจึงต้องใช้เหล็กตามมาตรฐาน TIS 1227-2539 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้กับเหล็กที่มีจำหน่ายในประเทศ
ผู้ใช้สามารถทราบคุณสมบัติของเหล็กที่นำมาใช้งานได้จากเอกสาร Mill Certificate ที่ออกโดยผู้ผลิตและที่ตัวเหล็กแต่ละท่อนมีสติ๊กเกอร์ระบุเกรด Heat no. อาคาร จะใช้เกรดสูง หรือ High-Strength ซึ่งมีความต้านแรงดึงตั้งแต่ 490N/mm2 เช่น ASTM A572, ASTM A992, JIS/TIS SM490, SM520 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเกรดเฉพาะงาน เช่น โครงสร้างในทะเล แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในทะเล ที่ต้องใช้เหล็กโครงสร้างเกรดสูงและมีความต้านทานแรงกระแทกที่อุณหภูมิต่ำมากคือ -20องศา , -40องศา ซึ่งการผลิตและทดสอบก็จะเข้มงวดยิ่งขึ้น
+ ลดระยะเวลาการก่อสร้าง ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยของโครงการ เปิดใช้งานได้รวดเร็ว
+ เตรียมงานจากโรงงานได้ และใช้แรงงานน้อยกว่าการก่อสร้างด้วยระบบอื่น
+ ออกแบบโครงสร้างให้มีช่วงเสากว้าง กว่าโครงสร้างระบบอื่น ไม่เปลืองพื้นที่ใช้งาน
+ ออกแบบงานสถาปัตยกรรมได้หลากหลายเช่น ตัดโค้ง ทำใครงสร้างโปร่ง หรือทำส่วนยื่่นได้มาก
+ โครงสร้างมีน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดฐานราก ลดการขนส่ง และพื้นที่กองเก็บวัสดุ
+ ตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพ และบำรุงรักษาได้สะดวกกว่าโครงสร้างอื่น
+ มีความแข็งแรง สามารถรับแรงสั่นสะเทือนและแผ่นดินไหว ได้ดีกว่าโครงสร้างระบบอื่น
+ ก่อสร้างในที่จำกัดได้สะดวก ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะฝุ่น
+ ดัดแปลง ต่อเติม หรือรื้อไปสร้างใหม่ได้ ไม่ต้องทุบทิ้ง
+ สามารถนำวัสดุมาหมุนเวียนได้ 100%
กระบวนการผลิตเหล็กโครงสร้าง รูปพรรณรีดร้อน เริ่มจากการนำเศษเหล็กมาหลอมในเบ้าขนาดใหญ่ด้วยความร้อนสูงกว่า 1600 องศาเซลเซียส จนกลายเป็นน้ำเหล็ก แล้วเติมโลหะปรุงแต่งส่วนผสมเพื่อให้มีความแข็งแรงตามเกรดที่ต้องการ เมื่อปรุงแต่งส่วนผสมแล้ว จึงนำมาหล่อให้เป็นแท่ง หลังจากนั้น นำเหล้กแท่งมารีดด้วยแท่นรีดขนาดใหญ่ ที่อุณหภูมิประมาณ 1200 องศาเซลเซียส รูปร่างหน้าตัดของเหล็กแท่งจะถูกลดขนาดและแปรเปลี่ยนไปตามแบบของลูกรีด จนมีขนาดมาตรฐาน จุดสำคัญในการการทำคือ การควบคุมส่วนประกอบทางเคมีของการหลอมแต่ละเบ้า Heat การรีดเหล็กร้อนให้เป็นรูปร่างที่มีความกว้างและความหนาให้พอดีตามที่กำหนด และการทดสอบความแข็งแรง
เนื่องจากผลิตโดยการหลอมและรีดร้อนขึ้นเป็นท่อน เหล็กโครงสร้างชนิดนี้จึงมีเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยเชื่อมระหว่างส่วนต่างๆ ดังนั้นคุณสมบัติของหน้าตัดจึงสม่ำเสมอกว่าเหล็กโครงสร้างชนิดอื่นเช่น เหล็กรูปพรรณกลวงซึ่งทำจากเหล็กม้วนและเชื่อมตามยาว กับเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเชื่อมประกอบที่ทำจากเหล็กแผ่นสามชิ้นเชื่อมเข้าด้วยกัน
เกรดหรือชั้นคุณภาพ
เกรดของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เป็นตัวระบุความแข็งแรงของเนื้อเหล็ก เหล็กที่ใช้งานโครงสร้างมีความต้านแรงดึง Tensile Strength ในระดับ 400N/mm2 ขึ้นไป เช่น ASTM A36, JIS/TIS SS400, SM400 เป็นต้น
วิศวกรบางท่านอาจคุ้นเคยกับเหล็ก ASTM A36 เนื่องจากมีในตำราออกแบบที่มีพื้นฐานจากต่างประเทศ แต่ไม่สามารถหาได้ในท้องตลาด จึงมักเกิดปัญหาการใช้งาน ดังนั้นการออกแบบในปัจจุบันจึงต้องใช้เหล็กตามมาตรฐาน TIS 1227-2539 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้กับเหล็กที่มีจำหน่ายในประเทศ
ผู้ใช้สามารถทราบคุณสมบัติของเหล็กที่นำมาใช้งานได้จากเอกสาร Mill Certificate ที่ออกโดยผู้ผลิตและที่ตัวเหล็กแต่ละท่อนมีสติ๊กเกอร์ระบุเกรด Heat no. อาคาร จะใช้เกรดสูง หรือ High-Strength ซึ่งมีความต้านแรงดึงตั้งแต่ 490N/mm2 เช่น ASTM A572, ASTM A992, JIS/TIS SM490, SM520 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเกรดเฉพาะงาน เช่น โครงสร้างในทะเล แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในทะเล ที่ต้องใช้เหล็กโครงสร้างเกรดสูงและมีความต้านทานแรงกระแทกที่อุณหภูมิต่ำมากคือ -20องศา , -40องศา ซึ่งการผลิตและทดสอบก็จะเข้มงวดยิ่งขึ้น
เหล็ก เอชบีม H-beam ต่างกับ ไอบีม I-beam อย่างไร?
เหล็กทั้ง 2 หน้าตัดนี้ มีข้อแตกต่างกันอยู่ 2 ด้าน คือ
1 ด้านการนำไปใช้งาน
เหล็กเอชบีม H-beam จะนำไปใช้ในงานก่อสร้างอาคาร เป็นชิ้นส่วนของ เสา คาน โครงหลังคา ฯลฯ H-BEAM มีขนาดหน้าตัดให้เลือกที่หลากหลาย ตั้งแต่ H100x50mm. จนถึงขนาดใหญ่สุด H900x300mm. ทำให้ H-BEAM นั้นถูกเลือกใช้ในงานที่หลากหลาย ทั้งโครงสร้างอาคาร โครงหล้งคา โครงสร้างโรงงาน หรืองานโครงการขนาดใหญ่เป็นต้น เช่น โรงจอดเครื่องบิน
เหล็กไอบีม I-beam จะนิยมนำไปทำรางเคน Crane Girder ที่ไว้ใช้ยกของที่มีน้ำหนักมาก แะเหล็กไอบีมนี้ ถูกผลิตขึ้นมากเพื่อใช้ในงานที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น รางเลื่อนของเครนในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะความหนาของ Flange ปีกที่ยื่นออกมา ที่มาก และมีลักษระ Taper เรียวที่ปลาย ไม่เหมือนกับ H-beam ที่มีความหนาของ Flange เท่ากันตลอด ส่งผลให้โดยทั่วไป I-beam จะสามารถรับแรงกระแทกได้ดี แต่ก็จะมีน้ำหนักที่มากกว่า เอชบีม H-Beam ในขณะที่หน้าตัดเท่ากัน เช่น
H 300x150x6.5x9mm. นน. 36.7 กก./ม.
I 300x150x8x13mm. นน. 48.3 กก./ม. ซึ่งจะเห็นได้ว่า I-Beam มีน้ำหนักมากกว่าถึง 32%
2 ด้านลักษณะรูปร่าง จุดแตกต่างของเหล็กทั้ง 2 หน้าตัด คือ ปีก Flange ทั้งบนและล่างของเหล็ก H-beam จะเป็นแผ่นเรียบหนาเท่ากันตลอด ส่วนของเหล็กไอบีม I-beam ทั้งปีกบนและล่างจะเป็นแผ่นเอียง หรือ Taper Flange ซึ่งขนาดหน้าตัดเหล็กที่เท่ากัน I-beam จะมีน้ำหนักต่อเมตรสูงกว่า H-beam เนื่องจากเหล็ก I-beam จะมีความหนาของเหล็กมากกว่าเพื่อรองรับแรงกระแทก และการเคลื่อนที่จากรางเครน
1 ด้านการนำไปใช้งาน
เหล็กเอชบีม H-beam จะนำไปใช้ในงานก่อสร้างอาคาร เป็นชิ้นส่วนของ เสา คาน โครงหลังคา ฯลฯ H-BEAM มีขนาดหน้าตัดให้เลือกที่หลากหลาย ตั้งแต่ H100x50mm. จนถึงขนาดใหญ่สุด H900x300mm. ทำให้ H-BEAM นั้นถูกเลือกใช้ในงานที่หลากหลาย ทั้งโครงสร้างอาคาร โครงหล้งคา โครงสร้างโรงงาน หรืองานโครงการขนาดใหญ่เป็นต้น เช่น โรงจอดเครื่องบิน
เหล็กไอบีม I-beam จะนิยมนำไปทำรางเคน Crane Girder ที่ไว้ใช้ยกของที่มีน้ำหนักมาก แะเหล็กไอบีมนี้ ถูกผลิตขึ้นมากเพื่อใช้ในงานที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น รางเลื่อนของเครนในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะความหนาของ Flange ปีกที่ยื่นออกมา ที่มาก และมีลักษระ Taper เรียวที่ปลาย ไม่เหมือนกับ H-beam ที่มีความหนาของ Flange เท่ากันตลอด ส่งผลให้โดยทั่วไป I-beam จะสามารถรับแรงกระแทกได้ดี แต่ก็จะมีน้ำหนักที่มากกว่า เอชบีม H-Beam ในขณะที่หน้าตัดเท่ากัน เช่น
H 300x150x6.5x9mm. นน. 36.7 กก./ม.
I 300x150x8x13mm. นน. 48.3 กก./ม. ซึ่งจะเห็นได้ว่า I-Beam มีน้ำหนักมากกว่าถึง 32%
2 ด้านลักษณะรูปร่าง จุดแตกต่างของเหล็กทั้ง 2 หน้าตัด คือ ปีก Flange ทั้งบนและล่างของเหล็ก H-beam จะเป็นแผ่นเรียบหนาเท่ากันตลอด ส่วนของเหล็กไอบีม I-beam ทั้งปีกบนและล่างจะเป็นแผ่นเอียง หรือ Taper Flange ซึ่งขนาดหน้าตัดเหล็กที่เท่ากัน I-beam จะมีน้ำหนักต่อเมตรสูงกว่า H-beam เนื่องจากเหล็ก I-beam จะมีความหนาของเหล็กมากกว่าเพื่อรองรับแรงกระแทก และการเคลื่อนที่จากรางเครน
ทำไมถึงไม่มีเหล็กหน้าตัด Wide Flange ใน มอก.
Wide Flange หรือ W-Shape เป็นหน้าตัดเหล็กตามมาตรฐาน ASTM ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตามมาตรฐานในประเทศไทย จะเรียกเหล็กหน้านี้ว่า H-Beam ตาม มอก. 1227-2539
ข้อแตกต่างระหว่าง SS400 และ SM400
SM400 เป็นสินค้าที่ผลิตมาโดยผ่านการควบคุมคาร์บอน และจะสามารถรับน้ำหนักได้มากว่า SS400 สินค้า SS400 เป็นสินค้าสำหรับงานเจาะรู
ประเภท | ขนาด | น้ำหนักต่อเส้น (กก.) | ราคาต่อเส้น หน้าโรงงาน ปรับปรุงล่าสุด 16 พ.ค.61 |
ไอบีม I-BEAM | 150x75x5.5x9.5x6m | 102.60 | 2,705.57 |
ไอบีม I-BEAM | 150x75x5.5x9.5x12m | 205.20 | 5,411.33 |
ไอบีม I-BEAM | 200x100x7x10x6m | 156.00 | 4,113.72 |
ไอบีม I-BEAM | 200x100x7x10x9m | 234.00 | 5,858.89 |
ไอบีม I-BEAM | 200x150x9x16x6m | 302.40 | 7,506.78 |
ไอบีม I-BEAM | 250x125x7.5x12.5x6m | 229.80 | 6,059.83 |
ไอบีม I-BEAM | 250x125x10x19x6m | 333.00 | 8,781.25 |
ไอบีม I-BEAM | 300x150x8x13x6m | 289.80 | 7,194.00 |
ไอบีม I-BEAM | 300x150x10x18.5x6m | 393.00 | 7,755.83 |
ไอบีม I-BEAM | 300x150x11.5x22x6m | 460.80 | 12,438.90 |
ไอบีม I-BEAM | 300x150x11.5x22x9m | 691.20 | 17,306.27 |
ไอบีม I-BEAM | 300x150x11.5x22x12m | 921.60 | 23,075.02 |
ไอบีม I-BEAM | 350x150x9x15.5x6m | 351.00 | 8,901.01 |
ไอบีม I-BEAM | 350x150x12x24x6m | 523.20 | 13,267.83 |
ไอบีม I-BEAM | 400x150x10x18x6m | 432.00 | 10,955.09 |
ไอบีม I-BEAM | 400x150x12.5x25x6m | 574.80 | 14,576.35 |
ไอบีม I-BEAM | 450x175x11x20x6m | 550.20 | 13,952.52 |
ไอบีม I-BEAM | 450x175x11x20x9m | 825.30 | 21,105.40 |
ไอบีม I-BEAM | 450x175x11x20x12m | 1,100.40 | 28,140.53 |
ไอบีม I-BEAM | 600x190x13x25x6m | 798.00 | 20,236.48 |
ไอบีม I-BEAM | 600x190x16x35x6m | 1,056.00 | 26,779.10 |
Nominal Size HxB |
Sectional Dimension | Sectional Area | Weight | Moment of Inertia | Radius of Gyration | Modulus of Section | ||||||
t1 | t2 | r1 | r2 | Ix | Iy | ix | iy | Zx | Zy | |||
mm | mm | mm | mm | mm | cm2 | kg/m | cm4 | cm4 | cm | cm | cm3 | cm3 |
150x75 | 5.5 | 9.5 | 9 | 4.5 | 21.83 | 17.1 | 819 | 57.5 | 6.12 | 1.62 | 109 | 15.3 |
200x100 | 7.0 | 10.0 | 10 | 5.0 | 33.06 | 26.0 | 2170 | 138 | 8.11 | 2.05 | 217 | 27.7 |
200x150 | 9.0 | 16.0 | 15 | 7.5 | 64.16 | 50.4 | 4460 | 753 | 8.34 | 3.43 | 446 | 10.0 |
250x125 | 7.5 | 12.5 | 12 | 6.0 | 48.79 | 38.3 | 5180 | 337 | 10.30 | 2.63 | 414 | 53.9 |
10.0 | 19.0 | 21 | 10.5 | 70.73 | 55.5 | 7310 | 538 | 10.20 | 2.76 | 585 | 86.0 | |
300x150 | 8.0 | 13.0 | 12 | 6.0 | 61.58 | 48.3 | 9480 | 588 | 12.40 | 3.09 | 532 | 78.4 |
10.0 | 18.5 | 19 | 9.5 | 83.47 | 65.5 | 12700 | 886 | 12.30 | 3.26 | 849 | 118.0 | |
11.5 | 22.0 | 23 | 11.5 | 97.88 | 76.8 | 14700 | 1080 | 12.20 | 3.32 | 978 | 143.0 | |
350x150 | 9.0 | 15.0 | 13 | 6.5 | 74.58 | 58.5 | 15200 | 702 | 14.30 | 3.07 | 870 | 93.5 |
12.0 | 24.0 | 25 | 12.5 | 111.10 | 87.2 | 22400 | 1180 | 14.2 | 3.26 | 1280 | 158.0 | |
400x150 | 10.0 | 18.0 | 17 | 8.5 | 91.73 | 72.0 | 24100 | 864 | 16.20 | 3.07 | 1200 | 115.0 |
12.5 | 25.0 | 27 | 13.5 | 122.10 | 95.8 | 31700 | 1240 | 16.10 | 3.18 | 1580 | 165.0 | |
450x175 | 11.0 | 20.0 | 19 | 9.5 | 116.80 | 91.7 | 39200 | 1510 | 18.30 | 3.60 | 1740 | 173.0 |
13.0 | 26.0 | 27 | 13.5 | 146.10 | 115.0 | 48800 | 2020 | 18.30 | 3.72 | 2170 | 231.0 | |
600x190 | 13.0 | 25.0 | 25 | 12.5 | 169.4 | 133.0 | 98400 | 2460 | 24.10 | 3.81 | 32.80 | 259 |
16.0 | 35.0 | 38 | 19.0 | 224.50 | 176.0 | 130000 | 3540 | 24.10 | 3.97 | 4330 | 1373.0 |
Tolerances TIS 1227-1996 I-BEAMs, CHANNELS, ANGLES
Dimension | Remark | ||||
Depth (H) |
H < 100
100 < H < 200
200 < H < 400
H > 400
|
+1.5
+2.0
+3.0
+4.0
|
|
||
Leg Length (H or B) |
B < 50
50< B < 100
100 < B < 200
B > 200
|
+1.5
+2.0
+3.0
+4.0
|
|||
Thickness
(t, t1, t2)
|
H < 130 |
t1 < 6.3
6.3 < t < 10
10 < t < 16
t > 6.3
|
+0.6
+0.7
+0.8
+1.0
|
||
H > 130 |
t2 < 6.3
6.3 < t < 10
10 < t < 16
16 < t < 25
t > 25
|
+0.7
+0.8
+1.0
+1.2
+1.5
|
|||
Length (L) |
L < 7m.
|
+40 0 |
|||
L > 7m. | 40+ (no.of meter of L-7)x5 0 |
||||
Squareness Out-of-square (T) |
I-Beam | 2.0% of width B |
|
||
Channel, Angle | 2.5% of Flange B | ||||
Bend |
I-Beam
Channel, Angle |
0.20% of L 0.30% of L |
To be applied to bend such as sweep and camber | ||
Eccentricity, Web-off-center (S) | - | Not specified | |||
Mass (kg/m.) |
t < 10
t > 10
|
+5%
+4%
|
1. Thicker nominal values shall be applied 2. Tob e applied to one lot of same size (1 t or over), provided that, when the number of pieces coresponding to 10 pieces, it shall be applied to each lot of 10 or more pieces |
คู่มือการใช้งาน
+ โปรดระมัดระวังอันตรายจากสะเก็ดไฟ ความร้อน กระแสไฟฟ้า
และละอองฝุ่นในขณะทำงานกับเหล็ก เช่น ตัด เจียร เจาะรู เชื่อมเหล็ก หรือ
การทำงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย
+ การกองเก็บสินค้า ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ต้องตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนัก และการสั่นสะเทือนของสถานที่กองเก็บ ทำให้สามารถกองเก็บได้อย่างแข็งแรงและมั่นคง
+ หากกองสินค้าในบริเวณที่มีการสัญจร ต้องมีป้ายหรือแถบสีกั้น ให้เห็นเด่นชัด และปลอดภัยต่อผู้สัญจร
+ การเคลื่อนย้าย สามารถยกติดตั้งในสถานที่ต่างๆ ต้องใช้อุปกรณ์ และวิธีการยกที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย
ข้อแนะนำในการทำงานอย่างปลอดภัย
1. การจัดกองเก็บสินค้าอย่างปลอดภัย
+ ไม่รองสินค้าวางแนวเดียวกันกับหมอนรอง
+ กองสินค้าเป็นระเบียบและวางหัวเสมอกัน
+ ไม่กองเอียง ใช้อุปกรณ์รอง เช่น ไม้ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์
+ พื้นอยู่ในสภาพสมบูรณ์และสามารถรับน้ำหนักสินค้าที่จะกองเก็บได้
การบรรทุกสินค้าอย่างปลอดภัย
+ วางสินค้าให้ตรงกลางรถ ไม่เอียง
+ ใช้อุปกรณ์รองและช่วยรัดที่แข็งแรงเพียงพอ เช่น แผ่นรองยาง ใช้ตะขอเกี่ยว และโซ่ขนาด 10มม. ขึ้นไป
+ รัดโช่อย่างน้อย 2 เส้น หัวท้าย
การโยกย้ายสินค้าอย่างปลอดภัย
+ สินค้ามีน้ำหนัก ไม่เกิน 6 ตัน/มัด
+ ตรวจสอบสภาพเครื่องจักร ลวดมัดสินค้า และใช้เครื่องจักรที่เหมาะสม เช่น รถงา
+ โปรดสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย เช่น ถุงมือ รองเท้า
+ ไม่ควรนั่งหรือยืนอยู่บริเวณรัศมีการยกสินค้า หรือกองเก็บสินค้า
+ ยืนบนกองสินค้า ระวังลื่น โปรดใช้ความระมัดระวัง
+ การกองเก็บสินค้า ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ต้องตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนัก และการสั่นสะเทือนของสถานที่กองเก็บ ทำให้สามารถกองเก็บได้อย่างแข็งแรงและมั่นคง
+ หากกองสินค้าในบริเวณที่มีการสัญจร ต้องมีป้ายหรือแถบสีกั้น ให้เห็นเด่นชัด และปลอดภัยต่อผู้สัญจร
+ การเคลื่อนย้าย สามารถยกติดตั้งในสถานที่ต่างๆ ต้องใช้อุปกรณ์ และวิธีการยกที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย
ข้อแนะนำในการทำงานอย่างปลอดภัย
1. การจัดกองเก็บสินค้าอย่างปลอดภัย
+ ไม่รองสินค้าวางแนวเดียวกันกับหมอนรอง
+ กองสินค้าเป็นระเบียบและวางหัวเสมอกัน
+ ไม่กองเอียง ใช้อุปกรณ์รอง เช่น ไม้ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์
+ พื้นอยู่ในสภาพสมบูรณ์และสามารถรับน้ำหนักสินค้าที่จะกองเก็บได้
การบรรทุกสินค้าอย่างปลอดภัย
+ วางสินค้าให้ตรงกลางรถ ไม่เอียง
+ ใช้อุปกรณ์รองและช่วยรัดที่แข็งแรงเพียงพอ เช่น แผ่นรองยาง ใช้ตะขอเกี่ยว และโซ่ขนาด 10มม. ขึ้นไป
+ รัดโช่อย่างน้อย 2 เส้น หัวท้าย
การโยกย้ายสินค้าอย่างปลอดภัย
+ สินค้ามีน้ำหนัก ไม่เกิน 6 ตัน/มัด
+ ตรวจสอบสภาพเครื่องจักร ลวดมัดสินค้า และใช้เครื่องจักรที่เหมาะสม เช่น รถงา
+ โปรดสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย เช่น ถุงมือ รองเท้า
+ ไม่ควรนั่งหรือยืนอยู่บริเวณรัศมีการยกสินค้า หรือกองเก็บสินค้า
+ ยืนบนกองสินค้า ระวังลื่น โปรดใช้ความระมัดระวัง